วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Safe place

บทนำ
  • ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจ(Psychological Trauma) เช่นหลังภาวะภัยพิบัติ หรือความรุนแรงในเด็ก การบำบัดในปัจจุบันจะเน้นการได้ผ่านพ้นจากความทรงจำที่มีต่อบาดแผลทางจิตใจนั้นโดยใช้กระบวนการ exposure ปัญหาที่เราจะต้องเผชิญคือผู้ป่วยมีความพร้อมทางจิตใจที่จะผ่านกระบวนการบำบัดโดยใช้ exposure หรือไม่ และระหว่างการบำบัดถ้าผู้ป่วยทนไม่ได้กับ exposure จะทำอย่างไร
  • ใน EMDR นั้นผมเคยผ่านการอบรม ๒ ครั้ง ในครั้งแรกจะเน้นการใช้ EMDR ลงปฎิบัติอย่างรวดเร็ว ส่วนในครั้งที่ ๒ ที่ผ่านอบรมนั้น วิทยากรจะไม่ยอมให้เราเรียนกระบวนบำบัด ๘ ขั้นตอนของ EMDR เลยจะเน้นการ stabilize ทางจิตใจกับผู้ป่วยก่อน และให้เราไปฝึกกระบวนการ stabilize เป็นเวลา ๑ ปีก่อนจึงจะมาเรียนต่อ
  • ซึ่งเมื่อได้ถามกับผู้ร่วมการอบรมจากอินโดนีเซีย ซึ่งบอกว่าความผิดพลาดของอินโดนีเซียในปีแรกคือการรีบใช้ EMDR โดยไม่ใช้กระบวนการ stabilize ก่อน กว่าจะกลับตัวได้ต้องใช้เวลาถึง ๑ ปี ดังนั้นกระบวนการ stabilizeจึงมีความสำคัญมาก
  • การ stabilize ทางจิตใจที่สำคัญมากอันหนึ่งคือ การสร้างที่ปลอดภัยในจิตใจ ( safe place ) เป็นการสร้างสถานที่ในจินตนาการของผู้ป่วยเอง ที่ไม่มีใครรู้จักและไม่มีใครสามารถไปถึงได้ยกเว้นผู้ป่วยเองเป็นสถานที่ที่ผู้ป่วยสามารถเข้าไปเพื่อที่พัก และผ่อนคลาย
  • เรามักจะใช้ safe place เมื่อจบแต่ละ session หรือระหว่างที่ทำ EMDR แล้วผู้ป่วยรู้สึกทนไม่ได้ หรือในระหว่าง sessions ที่อยู่บ้่านแล้วเกิดความเครียดจากประเด็นอะไรก็ตาม เช่น re-experience
  • ดังนั้นเราจะฝึกให้ผู้ป่วยรู้จัก safe place และสามารถพัฒนาทักษะนี้จนสามารถกลับไปอยู่ใน safe place ได้อย่างง่ายดายแม้ในขณะที่มีความเครียดสูง ซึ่ง client จำเป็นต้องไปฝึกเองด้วย

ขั้นตอน (ดัดแปลงมาจากเอกสารการอบรม EMDR)
  • ขอให้หลับตาและจินตนาการถึงสถานที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น สภานที่ที่เราจินตนาการนี้อาจเป็นที่รวมของสถานที่หลายๆแห่งที่เรารู้สึกชอบ สถานที่นี้อาจเป็นสถานที่จริงหรืออาจเป็นสถานที่ในจินตนาการ สถานที่นี้อาจอยู่ใกล้หรืออาจอยู่ไกล อาจอยู่ในโลกนี้ หรือที่อื่นก็ได้
  • ขอให้ใช้เวลาเพื่อหาสถ่านที่นั้น อาจจะต้องใช้การจินตนาการ สถานที่ใดที่ผลุดขึ้นในความคิดหรือจินตนาการ ถ้าเป็นที่ที่รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น สบาย ก็ถือว่าใช้ได้
  • ผมจะให้คุณใช้เวลาอยู่กับจินตนาการสักครู่ เมื่อใดที่คุณพบสถานที่ที่คุณคิดว่าใช่แล้วให้บอกผมให้ทราบ
  • ขอให้ตรวจสอบอีกครั้งว่าสถานที่นี้เป็นที่ที่ปลอดภัยและอบอุ่น ขอให้ตรวจสอบทุกการรับรู้ (ภาพ เสียง สัมผัส กลิ่น ความรู้สึก)
  • สิ่งที่เห็นทางภาพนั้นพอใจหรือไม่ ถ้ามีอะไรไม่ชอบขอให้เปลี่ยนได้ ขอให้จำไว้เสมอว่า ในจินตนาการเราสามารถเปลี่ยนทุกสิ่งตามที่เราต้องการได้ เหมือนเรามีเวทมนต์
  • สิ่งที่เราได้ยินในจินตนาการเราพอใจหรือไม่ ถ้าพอใจก็ขอให้เสียงนั้นคงอยู่ ถ้าไม่พอใจขอให้เปลี่ยนหรือลบเสียงนั้นไป
  • อุณหภูมิของสถานที่นั้นเป็นอย่างไร
  • กลิ่นในสถานที่นั้นเป็นอย่างไร ต้องการเพิ่มหรือลด
  • พื้นที่พอเพียงที่เราสามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระหรือไม่ ถ้ากว้างหรือแคบไปให้ปรับได้
  • ต้องการขอบเขตรอบพื้นที่ของเราหรือไม่ ต้องการรั้วที่ไม่ให้ใครเข้ามาในพื้นที่ของเราเพื่อให้รู้สึกปลอดภัยหรือไม่ ถ้าต้องการให้จินตนาการจนเรารู้สึกพอใจไม่ว่าจะเป็นจริง หรือเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นรั้วตามธรรมชาติ หรือ พื้นที่ที่ไม่มีใครรู้จัก
  • ถ้าพบว่าีมีใครอยู่ในพื้นที่ที่เราจินตนาการนี้ขอให้กันเขาออกไป ในพื้นที่นี้เป็นของเราเพียงคนเดียว
  • เมื่อเราได้จินตนาการถึงสถานที่นี้แล้ว อยากทำให้ปลอดภัยมากขึ้นหรือไม่ ถ้าต้องการขอให้ทำเพิ่มเติม
  • รู้สึกอย่างไรกับสถานที่ปลอดภัยที่เราสร้างขึ้น ความรู้สึกทางร่างกาย ทางจิตใจ ภาพของสถานที่ เสียงใมที่นั้น กลิ่น ความรู้สึกสัมผัสทางร่างกาย การเกร็งหรือผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ การหายใจ
  • ถ้าทกุอย่างไปด้วยดี ขอให้ตัดสินใจเลือกการเคลื่อนไหว เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การขยับมือ หรือ คำพูดบางคำ เช่น ผ่อนคลาย สบาย เืพื่อเชื่อมโยงความรู้สึกนี้เข้ากับตัวกระตุ้นที่เราสร้างขึ้น เช่น เมื่อเราหายใจเข้าลึกๆ และพูดว่าผ่อนคลายสบาย เราสามารถกลับมายังสถานที่นี้ได้อีก
  • อาจมีบางอย่างที่เราต้องการเปลี่ยในสถานที่นี้เพื่อให้เรารู้สึกสบายหรือปลอดภัยมากขึ้น ของให้ตรวจสอบและทำการเปลี่ยน ซึ่งในอนาคตเราสามารถเปลี่ยได้เสมอตามที่เเราต้องการ
  • ขอให้ใช้เวลาอยู่กับสถานที่นี้อย่างปลอดภัยและสบายสักครู่หนึ่ง
  • ขณะนี้จะขอกลับมาอยู่ในปัจจุบัน โดยผมจะค่อยๆนับ ๑ ถึง ๓ เมื่อถึง ๓ แล้สขอฝห้ค่อยๆเปิดตาขึ้น และรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย แจ่มใส
  • ๑ เริ่มรู้สึกถึงสิ่งรอบข้้า่งมาก
  • ๒ ได้ยินเสียงรอบข้าง รู้สึกถึงสิ่งสัมผัสรอบตัว
  • ๓ ขอให้ลืมตาขึ้น รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย


หมายเหตุ
  • บางคนอาจจะเริ่มต้นหา safe place โดยไม่ปิดตาก็เป็นไปได้
  • safe place อาจมาเปลี่ยนระหว่าง session ก็ได้ ถ้ากระบวนการดำเนินไปแล้ว client ไบว่าไม่ใช่
  • ระหว่างใน session จะมีการโต้ตอบระหว่างเรา และ client ตลอด ถ้ามีปัญหาอาจกลับมาปัจจุบันเพื่อคุยถึงประเด็นปัญหา และเริ่ม session ใหม่ได้
  • safe place ไม่ควรมีบุคคลอยู่ในนั้น ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนที่รักหรือไม่รัก

    ในประสบการพบปัญหาใน session มีการจินตนาการถึงพ่อซึ่ง client รู้สึกอบอุ่น แต่พอบรรยายไปสักครู่ คิดถึงพ่อ ซึ่งท่านเสียไปแล้วประกฎว่าร้องไห้ออกมา ทำให้ต้องหยุด session และสถานที่นั้นไม่สามารถใช้เป็น safe place ได้่อีก ดังนั้นบุคคลจะมีปัญหาที่เรามี ambivalence ซึ่งจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้


EMDR 8 Phases

(คำแปลภาษาไทยอาจไม่ถูกต้องต้องขออภัยด้วยครับ บทความนี้ไม่แน่ใจว่าอ่านหรือแปลงมาจากที่ใด เนื่องจากเรียบเรียงช่วงเรียนได้ข้อมูลมามากไปได้บันทึกว่าได้มาจากที่ใด )

Phase ของการบำบัดในแต่ละครั้ง
  1. ประวัติ client และการวางแผนการรักษา
  2. การเตรียมการ (Preparation)
  3. การประเมิน (Assessment)
  4. การทำให้หมดไป ( Desensitization )
  5. การติดตั้ง (Installation)
  6. การตรวจสอบร่างกาย (Body Scan)
  7. การปิด (Closure)
  8. การประเมินอีกครั้ง ( Reevaluation )

1.ประวัติ client และการวางแผนการรักษา
  • ประเมินว่า client สามารถ cope ความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะที่จะดึง traumatic event ที่อยู่ในความจำที่ยังไม่ประมวลผลออกมา โดยดู personal stability ความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และสุขภาพโดยทั่วไป
  • การสัมภาษณ์ทางสุขภาพจิตโดยเน้น ลักษณะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาการ และลักษณะของบุคลิกภาพ.
  • การค้นหาเป้าหมายของ EMDR ที่จะนำไปใช้บำบัด ประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ ตัวกระตุ้นปัจจุบันที่ทำให้เกิดการตอบสนองที่เป็นปัญหา รวมทั้งพฤติกรรมทางบวกและทัศนคติที่สามารถนำมาใช้ช่วย client ในอนาคต
2. การเตรียมการ (Preparation)
  • สร้างความสัมพันธภาพเพื่อนำไปสู่การรักษาที่ดี
  • อธิบายทฤษฎีของ EMDR , กระบวนการและผลของการบำบัด (ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง)
  • ชี้แจงในสิ่งที่ client กังวล
  • สอนทักษะการผ่อนคลายและ safety procedures
3. การประเมิน (Assessment)
  • เลือกเป้าหมายปัจจุบันที่ต้องการและตรวจสอบการตอบสนองที่เกิดขึ้นก่อนการบำบัด
  • กำหนดความจำเป้าหมายของ client ที่ต้องการ กำหนด visual image ที่แสดงถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถกำหนดภาพที่ต้องการได้ให้ใช้คำพูดที่สามารถเป็นตัวแทนเหตุการณ์นั้นได้
  • ให้ client ประเมินความคิดทางลบ ( negative cognition - NC) ที่สัมพันธ์กับ image และสามารถเป็นตัวแทนความคิดที่ client ที่มีต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น [ ตัวอย่างเช่น ผมแย่ที่ไม่สามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ e.g., “I am ____ (worthless, unlovable, dirty, bad, etc.).”].
  • client เลือกความคิดทางบวกที่ต้องการ ( positive cognition - PC) ที่จะนำไปแทนที่ความคิดทางลบ [ เช่น ผมทำดีที่สุดแล้ว e.g., “I am ____ (worthwhile, lovable, etc.).] และประเมินความคิดนั้นกับ VOC scale.(Valid of Cognition ความรู้สึกว่าความคิดนั้นจริง )
  • ให้ client รักษาภาพและความคิดทางลบนั้นอยู่ในจิตสำนึก อธิบายอารมณ์ที่เกิดขึ้นและประเมินอารมณ์ที่รบกวนนั้นในรูปของ SUD scale.(Subjective Unit of Disturbance )
  • ให้ client มุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มดึงเราเหตุการณ์ขึ้นมาสู่จิตสำนึก และอธิบายอาการที่เกิดขึ้น
4. การทำให้หมดไป ( Desensitization )
  • ให้ client รักษาภาพและความคิดทางลบนั้นอยู่ในจิตสำนึก รวมทั้งความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้น เริ่มให้ client กรอกตาตามแนวทางที่กำหนด ( sets of eye movements EMs) เพื่อให้เกิดการหมดไปเองของ ภาพ ความคิดและอาการทางร่างกาย (achieve desensitization).
  • ให้ทำ Desensitization ไปจนกว่า SUDs จะมีค่าเท่ากับ 0 หรือ 1.
  • การกรอกตา(Eye Movement - EM) อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะลดความทุกข์ทรมานของ client ได้ อาจจำเป็นต้องใช้กระบวนการอื่นร่วมด้วย
5. การติดตั้ง (Installation)
  • ให้ตั้งสมาธิไปที่ความคิดทางบวก ( PC ) เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความภูมิใจในตนเอง (self-efficacy and self-esteem.)
  • ให้รักษาความคิดทางบวก(PC)นั้นไว้พร้อมกับภาพของเหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลทางใจที่ได้รับการบำบัด(desensitized trauma image) และให้กรอกตาไปจนกว่า VOC จะมีค่าถึง 7 ( ซึ่งเรามักจะพบว่าค่าของ VOC จะเปลี่ยนไปบ้างแล้วตั้งแต่การ desensitize).
  • การที่ค่า VOC ไม่สามารถเพิ่มได้ถึง 7 อาจไม่เป็นปัญหาถ้าสิ่งนั้นมีเหตุผลและมีความเหมาะสม ( เช่น ไม่เป็นเรื่องของพยาธิสภาพ) แต่ถ้าเป็นพยาธิสภาพจะต้องพยายามทำให้ถึงเป้าหมาย.
6. การตรวจสอบร่างกาย (Body Scan)
  • เมื่อได้มีการติดตั้งความคิดทางบวกแล้ว ให้ client รักษาความคิดทางบวก(PC)นั้นไว้พร้อมกับภาพของเหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลทางใจ และให้ใช้จิตใจสำรวจร่างกายทีละส่วนจากศีรษะไปถึงปลายเท้า ประเมินว่ามีความเครียดหรืออาการทางร่างกายใดที่ยังหลงเหลืออยู่
  • ความตึงเครียดและความรู้สึกทางร่างกายเป็นเป้าหมายในการรักษาช่วงนี้ การลดความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้นจาก trauma ที่ได้รับการบำบัดโดยการนำข้อมูลดิบไปประมวล หรือ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจเผยให้เห็นมีข้อมูลดิบที่เกิดจากการบาดเจ็บทางจิตใจที่ต้องการบำบัดเพิ่มขึ้น
7. การปิด (Closure)
  • ไม่ว่าการประมวลข้อมูลที่ client ได้จากประสบการณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ แต่เมื่อจบแต่ละ session เป้าหมายคือการทำให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่ความสมดุลย์.
  • จะมีการให้ความรู้กับ client ว่ากระบวนการบำบัดยังคงดำเนินอยู่ ในช่วงระหว่างการรักษาแต่ละครั้ง client อาจจะพบอาการเกิดขึ้น เช่น มีความคิด ภาพ หรือ อารมณ์ของเหตุการณ์ trauma เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี (positive sign) โดยให้ client สังเกตอาการเหล่านั้นและมาบอกในครั้งถัดไป ซึ่งอาการเหล่านั้นอาจจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของการรักษาครั้งถัดไปของ EMDR การคอยบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นการสร้างกระบวนการคิดที่ทำให้ห่างจากปัญหา
  • เนื่องจากบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นอาจจะเชื่อมโยงกันผ่านเครือข่ายความจำ ดังนั้นการ reprocessing ของแต่ละเหตุการณ์อาจกระตุ้นให้มีการ reprocessing ของความจำที่เชื่อมโยงกันด้วย ทำให้อาการอื่นลดลงตามไปด้วย หรืออาจทำให้ความจำอื่นผลุดขึ้นมา เกิดเป็นอาการได้
  • การให้ความรู้เรื่องทักษะการจัดการกับอาการที่ไม่ต้องการและการให้ความรู้เรื่องกระบวนการบำบัดมีความสำคัญ เนื่องจาก client อาจเกิดอาการหลังการบำบัดแต่ละครั้ง ซึ่ง client จะไม่ได้มาพบเราจนกว่านัดครั้งถัดไป ดังนั้นในระหว่างนั้นเขาจะต้องไม่ตกใจว่าทำไม่บำบัดแล้วอาการบางอย่างกลับเกิดขึ้นมา และเขาสามารถจัดการกับอาการเหล่านั้นได้ด้วยเครื่องมือที่เราสอนไว้ (เช่น container , safe place)
8. การประเมินอีกครั้ง ( Reevaluation )
  • ในแต่ละครั้งที่ทำการบำบัด เป้าหมายเดิมที่เคยบำบัดแล้วจะได้รับการประเมินอีกครั้งว่าผลการบำบัดที่ทำไปแล้วยังได้ผลอยู่หรือไม่ แบบบันทึกที่ทำไว้จะได้รับการทบทวน ถ้าอาการใดกลับมีขึ้นมาอีกจะได้รับการบำบัดเพิ่ม
  • ในฐานะผู้บำบัด เราจะต้องดูและเรื่องอื่นที่ client ยังคงความกังวลที่หลงเหลือในจิตใจ ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือปัญหาในสิ่งแวดล้อมอื่น เช่นในกรณีได้รับค่าชดเชยแล้ว client อาจไม่ยอมหายป่วย หรือ client ได้รับการเสริมแรงที่มำให้ไม่หาย

แนวคิดการบำบัดของ EMDR

เรียบเรียงจากหนังสือ EMDR Scripted Protocol

แกนหลักของแนวคิดการบำบัดของ EMDR คือ Adaptive Information processing Model ( AIP ) โดย AIP เชื่อว่าบุคคลมีศักยภาพตั้งแต่กำเนิดที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การมีสุขภาพที่ดีและสมบูรณ์ (health and wholeness ) บุคคลเมื่อมีประสบการณ์ใหม่เกิดขึ้นจะทำการประมวลผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น แยกเป็นองค์ประกอบต่างๆ เช่นภาพเสียงความรู้สึกสัมผัส (Sensory modality ต่างๆ ) ความคิด อารมณ์ การสัมพันธ์กับเวลา โดยองค์ประกอบเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บในสมองส่วนต่างๆอย่างถูกต้อง บุคคลจะสามารถเห็นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของอารมณ์และความคิด และสามารถเป็นที่ควบคุมการใช้ความจำเหล่านี้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม (adaptive learning) ซึ่งทำให้ความจำใหม่และความทรงจำเก่านั้นเกิดการเชื่อมโยง บุคคลจะมีการความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสม

แต่เมื่อใดก็ตามบุคคลไม่สามารถประมวลผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (โดยไม่นับการที่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือการขาดข้อมูลข่าวสาร) เช่น การประสบเหตุภัยพิบัติอย่างรุนแรง ในขณะนั้นบุคคลจะใช้ศักยภาพทั้งหมดเพื่อการมีชีวิตรอด (ศักยภาพทั้งมวลนั้นหมายถึงศักยภาพทางจิตใจด้วย ) ประสบการณ์ใหม่ที่เกิดขี้น จะถูกเก็บไว้ในเครือข่ายความทรงทั้งก้อนในลักษณะของข้อมูลดิบ โดยความจำใหม่นี้จะอยู่ในเครือข่ายที่ไม่เชื่อมโยงกับเครือข่ายการเรียนรู้ปกติ และบุคคลไม่สามารถควบคุมได้ดี (ในบุคคลบางคน ถ้าหลังจากประสบภัยแล้ว บุคคลนั้นสามารถกลับเข้าสู่สมดุลได้อีกครั้ง ความทรงจำนี้จะถูกนำกลับมาประมวลและนำเข้าสู่เครือข่ายความจำปกติ ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ขึ้น – adaptive learning) ดังนั้นเมือใดที่มีปัจจัยที่เหมาะสมมากระตุ้น จะทำให้ประสบการณ์ที่ถูกเก็บไว้นั้นโผล่ออกมาทั้งก้อน ซึ่งประสบการณ์นั้นจะออกมาในลักษณะของข้อมูลดิบที่ไม่ได้ประมวลผล ดังนั้น บุคคลจะเหมือนกลับไปที่เวลานั้นอีก (re-experience ) มีภาพ เสียง ความรู้สึกสัมผัสทางร่างกาย มีอารมณ์ตอบสนองอย่างรุนแรง โดยไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าความจำนั้นมีผลกระทบที่แรงพอก็จะเป็นอาการของ PTSD ถ้าไม่รุนแรงมากอาจจะเป็นเพียงความรู้สึกวิตกกังวลที่ไม่สมเหตุสมผลกับเหตุการณ์นั้น

เป้าหมายของ EMDR การบำบัดนั้นเพื่อนำความจำที่ถูกแช่แข็งมาประมวล ( unfreeze dysfunctionally stored memories) ให้ความจำนั้นสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสารอื่นๆในสมอง ซึ่งจะให้เราสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมต่อไป ดังนั้น EMDR สามารถใช้ได้กับโรคทางจิตเวชหลายอย่างที่สามารถอธิบายได้ด้วย model นี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเฉพาะ PTSD

ดัดแปลงจากเอกสาร Clifton R. Hudson, Ph.D.
เราสามารถสรุป Adaptive Information Processing Model ได้ดังนี้
  • มนุษย์มีความสามารถภายในที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดที่สามารถประมวลประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม (adaptive learning)
  • ความทรงจำในสมองนั้นจะเก็บในลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย โดยเชื่อโยงความจำใหม่และความทรงจำที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงอารมณ์ที่สัมพันธ์กับความคิดด้วย
  • เครือข่ายเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่าง ความคิด ภาพ อารมณ์และการรู้สัมผัส ( thoughts, images, emotions, and sensations).
  • ถ้าประสบการณ์ traumatic ไม่ได้รับการประมวลเนื่องจากถูกขัดขวาง (เช่นจากการมีข้อมูลข่าวสารท่วมท้นในขณะมีประสบการณ์ ) ความคิด ภาพ อารมณ์และการรู้สัมผัสจะยังคงอยู่ในรูปของข้อมูลดิบและเป็นสิ่งตั้งต้นของตอบสนองที่ไม่เหมาะสมหรือผิดปกติในเวลาต่อมาเมื่อบุคคลนั้นได้รับการกระตุ้น
  • สมมุติฐานของ EMDR คือ กระบวนการใน EMDR สามารถช่วยเหลือ client ได้โดยการประมวลผลความทรงจำที่ผิดปกติเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในเครือข่ายข้อมูลปกติของสมอง
  • การประมวลผลความจำที่ถูกเก็บในรูปข้อมูลดิบ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ การตอบสนองจะมีความเหมาะสมขึ้น

การบำบัดนั้นจะมีการทำให้ผป. อยู่ในภาวะ stable เสียก่อน เมื่อพร้อมจึงจะทำการบำบัดโดยนัดเป็น session โดยแต่ละ session นั้นจะเลือก target เพียงหนึ่ง target มาทำการบำบัด (ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งเหตุการณ์อาจะทำให้เกิดหลาย target ได้ ) และโดยปกติหลังจบแต่ละ session จะต้องทำให้ target ที่เป็น negative นั้นหายไปและเกิด positive ขึ้นมาแทนที่ โดย client จะต้องเชื่อความคิดเชิงบวกใหม่นั้นจริงๆ (ตรวจสอบการเชื่อใหม่นั้นโดย VOC Scale – Valid Of Cognition scale ) และการรบกวนที่เกิดขึ้นจาก target นั้นจะต้องหายไป ซึ่งจะตรวจสอบโดย SUD scale.(Subjective Unit of Disturbance scale)

Acceptance and commitment therapy ( ACT )

เรียบเรียงจาก ???????????????????
ACT เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับปัญหาหลายรูปแบบ กระบวนหลักประกอบด้วยการปรับพฤติกรรม การฝึกสติ และการยอมรับ (acceptance process) กระบวนการอื่นสามารถเสริมขึ้นมาตามลักษณะของ client เช่นอาจมี psycho-education , การฝึกทักษะ , การปัญหา การ exposure
แนวคิดหลักของ ACT คือ client จะพยายามหลีกเลี่ยงกับประสบการณ์ภายในเชิงลบ เช่น ความรู้สึก การรับรู้ การคิด ความอยาก โดยจะพยายามหลีกเลี่ยง หลบหรือกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไป แม้ว่าจะเป็นทางที่ทำให้เกิดผลเสียตามมา ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบเห็นได้ เช่น การใช้ยาเสพติด การหลักเลี่ยงสังคม ความอ้วน การเกิด dissociation และยังพบว่าการที่เราพยายามกดเก็บอารมณ์และความคิดกลับทำให้เราต้องประสบกับสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น
กระบวนการบำบัดคือการที่ให้เราได้ประสบการณ์เหล่านั้นในปัจจุบัน แบบเต็มใจ ยอมรับ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้การมีสติเข้ามา การฝึกสติใน ACT นั้นมีวิธีการที่หลากหลายมาก แต่กระบวนการสำคัญประกอบด้วย
๑. การยอมรับและการแยกตัวจากความคิด (Acceptance and Cognitive defusion)
การยอมรับ (acceptance )เป็นกระบวนที่ยอมรับความคิด อารมณ์ ความรู้สึก โดยไม่ตัดสิน เป็น จะไม่พยายามไปควบคุม ซึ่งพบว่าการพยายามควบคุมจะทำให้เกิดผลตรงข้าม(paradox effect) คือเกิดความคิดและอารมณ์นั้นมากขึ้น จะพยามให้รู้ในสิ่งที่เคยหลีกเลี่ยง เช่น ความวิตกกังวล มีเหงื่ออก ใจเต้นเร็ว
การแยกตัวออกจากความคิด ( Cognitive defusion ) เป็นการสอนสังเกตความคิดและกระบวนการคิดโดยไม้คิดว่าความคิดนั้นจริง หรือสำคัญ ซึ่งเมื่อมีการสังเกตแล้วจะทำให้ผลของความคิดต่อพฤติกรรมนั้นจะลอลง โดยจะพบว่าความคิดเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อหรือเป็นจริง กระบวนการนี้คล้ายกับ cognitive therapy แบบเดิมที่สังเกต ติดตาม และมองว่าความคิดเป็นสมมุติฐานที่ต้องการการทดสอบ แต่การแยกตัวออกจากความคิด นั้นจะไม่มีกระบวนการไป วิเคราะห์ พิสูจน์ หรือเปลี่ยนแปลงความคิดเหล่านั้น ใน ACT จะมีการฝึกมากมายเช่น การฝึกใบไม้ไหลตามน้ำ จะให้ผู้ฝึกหลับตาและจินตนาการว่าหยิบเอาความคิดที่เกิดนำมาใส่ในใบไม้วางบนแม่น้ำและปล่อยให้ไหลจนหายไปตาม หรือ กองทหารเดินพาเหรด โดยให้จินตนาการว่าความคิดคือป้ายที่ทหารเดินถือและค่อยๆจากไป วัตถุประสงค์ของ defusion ก็เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมแม้มีความคิดที่ไม่ต้องการ โดยปล่อยให้ความคิดที่ไม่ต้องการมาและจากไปเอง
๒. การอยู่กับปัจจุบันและ self as context
ACT จะใช้การฝึกสติในการให้สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และบรรยายสิ่งนั้นโดยปราศจากการตัดสินหรือประเมินแม้ว่าจะเป็นความรู้สึกที่ไม่ดี อุปสรรคที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงและการหลอมตัวเข้ากับความคิดนั้น (avoidance and cognitive fusion) ให้แยกตัวตนออกจาก ความคิด แรมณ์และความรู้สึก ตัวอย่างเช่น เมื่อมีความคิดว่า ”ฉันเป็นคนโง่” ให้สอนตนเองให้พูดว่า “ฉันคิดว่าฉันเป็นคนโง่” การเพิ่มคำว่า“ฉันคิดว่า” จะเกิดการแยกระหว่างตัวตนกับความคิดออกจากกัน และพบว่าตนเองสามารถมีความคิดหรืออารมณ์หลากหลายโดยไม่เป็นอันตราย ในบางครั้งจะให้ฝึกจินตนาการเป็นเหมือนมีผู้สังเกตการณ์อีกคนหนึ่งที่คอยมอง ประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น (รูป นาม) หลายคนจะพบประสบการณ์ว่า ตัวตนที่เป็นผู้สังเกตนั้นดำรงอยู่และประสบการณ์ต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป (เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป – ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนันตา) ซึ่งในกรณีนี้อาจเรียกว่ามี
๓. คุณค่าและการกระทำไปตามความตั้งใจ(Values and committed Action)
ACT ต่างจากแนวทางอื่นโดยให้ความสำคัญกับเรื่อง คุณค่าและเป้าหมายของชีวิต ซึ่งสะท้อนไปสู่พฤติกรรมที่ทำให้สามรรถเดินไปสู่เป้าหมายของชีวิต จะมีกิจกรรมที่พูดถึงเป้าและคุณค่าเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ ความสัมพันธ์ การพัฒนาคุณค่าชีวิต สุขภาพ เช่นอาจจะถามว่าเมื่อตายอยากให้คนพูดถึงเขาว่าอย่างไร ซึ่งเป้าเหล่านั้นทำให้เราสามารถนำไปสู่การกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการนำไปสู่เป้าเหล่านั้น และพิจารณาอุปสรราคที่มีอยู่และวิธีการจัดการอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งพบว่ามักจะเป็นประเด็นเรื่องจิตใจ เช่น ความวิตกกัวงล ความเศร้า ความไม่เชื่อมั่นตนเอง ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มี chronic pain และกลัวความเจ็บป่วยมากจนตัดขาดจากสังคม ไม่ยอมดูแลลูก เมื่อพูดถึงเป้าหมายในชีวิต อยากให้ลูกพูดถึงตนเองในแง่เป็นแม่ที่ดี อยากเรียนให้จบตามที่หวัง เมื่อพิจารณาพฤติกรรมที่ต้องการคือการลุกจากเตียงออกมาต่อทำกิจกรรมประจำวัน การพบปะผู้คน การพยายามออกมาเรียน สิ่งที่เป็นอุปสรรคคือความกลัวที่จะปวด เมื่อได้จัดความกลัวที่ไม่สมเหตุผลแล้ว ในท้ายที่สุด เธอก็สามารถออกมาดูแลลูกได้ ออกมาเรียนหนังสือต่อได้ โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยวัด physical scale pain เท่าเดิม แต่ psychological และ social pain ลดลง คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Mindfuness-base cognitive therapy ( MBCT)

เรียบเรียงจาก ???????????????????????

MBCT นั้นอ้างอิงกระบวนการมาจาก MBSR เป็นส่วนใหญ่ โดยเริ่มต้นพัฒนามาเพื่อใช้ป้องกันการ เกิดซ้ำของโรคซึมเศร้า (relapse of major depression) โดยจะเป็นกระบวนการ ๘ session โดยใช้เวลา session ละ ๒ ชั่วโมง แต่ไม่มี session ที่ฝึกทั้งวัน กระบวนการฝึกที่มีเพิ่มขึ้นคือ

  1. การฝึกสังเกตลมหายใจ ๓ นาที ซึ่งในช่วงที่ฝึกสังเกตลมหายใจนั้นกระทำเพื่อให้หลุดจากความคิดแบบอัตโนมัติ จะพิจารณาและให้ผู้ปฎิบัติถามตนเองว่า “ฉันรู้สึกอย่างไรในขณะนี้” (What is my experience right now ? ) และสังเกต ความรู้สึกของร่างกาย ความคิด อารมณ์ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน รับรู้ประสบการณ์เหล่านั้นโดยไม่พยายามปฎิเสธหรือพยายามทำให้หมดไป
    การฝึกนี้จะเริ่มทำใน session ๓ เป็นต้นไป และพยายามให้ฝึกวันละหลายๆครั้ง โดยในช่วงเริ่มต้นจะกำหนดตารางเวลาที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงหลังจะให้ฝึกทุกครั้งที่รู้สึกเครียดหรือไม่สบายใจ ในขณะที่ฝึกหายใจผู้ฝึกอาจจะรู้สึกผ่อนคลายแต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการรู้กระบวนการคิดที่ดำเนินไปอย่างอัตโนมัติกับการหยุดแบบมีสติ และมีทางเลือก (การฝึกลมหายใจ ถ้าไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียวโดยไม่สังเกตประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจะผ่อนคลายและเข้าสู่กระบวนการสมาธิที่ไม่เกิดปัญญาทางสติ - อธิบายตามการฝึกสติที่ได้จากการปฏิบัติมา)
  2. การดึงเอาประสบการณ์ที่ไม่ชอบหรือไม่พอใจขึ้นมา ให้สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของร่างกายและจิตใจ โดยไม่พยายามหลบหนีหรือขัดขวาง ยอมรับด้วยความเมตตา กรุณา (willingness , openness and a gentle , kindly , friendly awareness ) การฝึกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฝึกไม่ต้องพยายามหลบเลี่ยงจากความรู้สึกที่ไม่ดี (avoidance) ผู้ฝึกมักจะพบว่าตนเองนั้นจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับประสบการณ์ทางลบด้วยความก้าวร้าว แทนความอ่อนโยน การฝึกนี้จะทำด้วยความลำบากซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากครูผู้ฝึกสอน
  3. การทำ cognitive therapy ในการฝึกนี้ไม่ใช่การบำบัดในรูปแบบ cognitive therapy แบบดั่งเดิมที่พยายามไปเปลี่ยนประบวนการคิด (การค้นหาความคิดที่ไม่ถูกต้อง การหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความคิดนั้น หรือการพัฒนาความคิดที่มีเหตุผล) แต่เป็นการทำเพื่อให้เกิดกระบวนการ decentered ของประสบการณ์ภายใน เช่น
  • ก. การฝึกความคิดและอารมณ์ จะเริ่มใน session ๒ จะให้ผู้ฝึกหลับตาและจินตนาการเหตุการณ์ว่าเดินอยู่และพบเพื่อนเดินผ่านมา ตนเองยิ้ม โบกมือ และส่งเสียงเรียก เพื่อนเดินผ่านไปเหมือนไม่เห็น แล้วให้อธิบายความคิด ความรู้สึก แลอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้รูปแบบของ ABC โดย A คือสถานการณ์ B คือ ความคิด และ C คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกได้เรียนรู้เรื่องของ ความคิดไม่จำเป็นต้องเป็นความจริง (thoughts are not fact) และเรามักจะไม่ค่อยรู้ว่ามี B แม้ว่าจะรู้ว่ามี B แต่มักไม่สามารถหยุดกระบวนการนั้นได้ทัน การฝึกสติจะทำให้กระบวนการเหล่านี้ชัดเจนยิ่งขี้น
  • ข. การอภิปรายในเรื่องการคิดอย่างอัตโนมัติ (automatic thought ) จะเริ่มใน session ๔ โดยจะอภิปรายในประเด็นความคิดที่สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้า ตัวอย่างเช่น ฉันเป็นคนไม่ดี ชีวิตฉันแย่ โดยให้ยอมรับว่าความคิดเหล่านี้เป็นอาการของโรคซึมเศร้าแต่ไม่ใช่ตัวตนของเขา การเชื่อความคิดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงจังหวะของโรคไม่คงอยู่ตลอดไป
  • ค. การฝึก อารมณ์ ความคิดและมุมมองอื่น จะทำใน session ๖ โดยจะสมมุติสถานการณ์ว่าเพิ่มทะเลาะกับเพื่อนที่ทำงานมา ขณะเดินกลับบ้านพบเพื่อนคนที่ ๒ เดินผ่านมาเมื่อทักเพื่อนบอกว่ารีบไม่มีเวลาคุย ขียนความคิดที่เกิดขึ้น ให้สมมุติสถานการณ์ใหม่ว่าเพิ่งได้รับการยกย่องจากที่ทำงานว่าทำงานได้ดี และมาพบเพื่อนที่รีบไม่มีเวลาคุยด้วย เขียนความคิดที่เกิดขึ้น นำมาเปรียบเทียบกับความคิดที่หนึ่ง ซึ่งมักจะพบว่าความคิดที่ ๑ คิดว่าเพื่อนอยากจะหลีกเลี่ยงเรา ส่วนความคิดที่สองจะเชื่อว่าเขารีบจริงและอาจจะเป็นห่วงเขาด้วย จากการฝึกจะทำให้พบว่าความคิดมีผลกับความรู้สึก และความรู้สึกจะมีผลกับความคิด ดังนั้นความคิดจึงไม่จำเป็นต้องเป็นความจริง แต่เรามักจะเชื่อว่าความคิดคือความจริง
  • ง. กิจกรรมที่มีความสุขและกิจกรรมที่เรามั่นใจว่าทำได้ การฝึกนี้จะทำใน session ๗ โดยมีแนวคิดว่ากิจกรรมบางอย่างสามารถที่จะป้องกันอาการซึมเศร้าได้ โดยมีกิจกรรม ๒ กลุ่มคือ ๑. กิจกรรมที่เราชอบและมีความสุข เช่น การได้คุยกับเพื่อนสนิท การได้ดูภาพยนตร์ ๒. กิจกรรมที่เรามั่นใจ เช่นการการทำกับข้าว การปลูกต้นไม้ การซื้อของ โดยจะให้ทำรายชื่อกิจกรรมเหล่านี้ไว้ และให้ทำกิจกรรมเหล่านี้เมื่อพบว่ามีอารมณ์แย่
  • จ. การวางแผนป้องกันการเกิดซ้ำ จะทำใน ๒ session สุดท้าย โดยจะนำเอาทักษะทั้งหมดที่ฝึกได้มาใช้ โดยจะเริ่มจากการให้ทำรายการอะไรสิ่งบอกเหตุ(relapse signature )ว่าจะเกิดอาการซึมเศร้า ขึ้นมา ที่พบบ่อยเช่น หงุดหงิด แรงจูงใจหมด แยกตัว เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และให้คิดว่าจะจัดการกับอาการเหล่านี้อย่างไรบ้าง เช่น การฝึการหายใจ การพยายามเข้ากลุ่มเพื่อมาฝึกสติใหม่ การเลือกกิจกรรมที่เคยทำรายการไว้
คุณสมบัติของครูที่สามารถนำกลุ่ม MBCT

ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติไว้มากเท่ากับ MBSR แต่ควรต้องผ่านการฝึกการให้คำปรึกษา หรือการทำจิตบำบัด และเคยเป็นผู้ทำกิจกรรมกลุ่มมาก่อน นอกจากนี้ควรจะทำการฝึกสติอยู่อย่างสม่ำเสมอ

Mindfuness-base stress reduction ( MBSR )

เรียบเรียงจากหนัีงสือ ?????????????????????????

พัฒนาโดย Jon Kabat-Zinn, ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Medical Center ในปีค.ศ.1979 เพื่อใช้ช่วยเหลือผู้ป่วย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้บำบัดผู้ป่วยประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน มีศูนย์บำบัดมากกว่า ๒๐๐ แห่งทั่วโลก ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา การปวดเรื้อรัง มะเร็ง เอดส์ และอื่นๆ โดยใช้เวลาบำบัด ๘ สัปดาห์ พบกัน ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา ๒.๕ ถึง ๓ ชั่งโมง และในช่วงสัปดาห์ที่ ๖ จะมีกิจกรรมเต็มวันหนึ่งครั้ง โดยจะบำบัดเป็นกลุ่มประมาณกลุ่มละ ๓๐ คนโดยจะเป็นบุคคลที่มีปัญหาต่างๆกัน แต่ในบางที่อาจจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเช่นกลุ่มที่เป็นโรคมะเร็ง
ในการบำบัดแนวทางนี้จะมีการบ้านที่ต้องไปฝึกต่อ โดยฝึกตามที่กำหนด ๔๕ นาทีต่อวันในช่วง ๖ วันที่ไม่ได้มาร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องความเครียดในเชิงการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด การรับรู้ต่อสิ่งเร้าและการที่เราสามารถที่จะเลือกตอบสนอง ซึ่งการให้ความรู้เหล่านี้จะสอดแทรกในกิจกรรมของกลุ่มที่พบกันใน ๘ session นั้นจะมีกิจกรรมหลักคือ
  1. การฝึกสติโดยใช้การพิจารณาลูกเกด ซึ่งจะเป็นกิจกรรมใน session ที่หนึ่งโดยให้พิจารณาเริ่มจากรูปร่าง สี ลักษณะโครงสร้าง การสัมผัส กลิ่น หลังจากพิจารณาแล้วขั้นที่ สองจึงจะใส่เข้าปาก และสังเกตความรู้สึกที่เกิด ทั้งการรับรู้รูปร่างและรส หลังจากพิจารณาแล้วจึงจะกัดและรับรู้รส ในการฝึกนี้ทำให้ผู้ฝึกได้รับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช้กระบวนการคิดแบบอัตโนมัติ แต่เป็นการทำให้กระบวนการต่างๆช้าลงจนสัมผัสความคิดได้ เป็นประสบการณ์ใหม่ที่บางคนอาจไม่เคยพบมาก่อน ในระหว่างที่สังเกตถ้ามีความคิด อารมณ์ ความรู้สึกไปเรื่องอื่น ให้รับรู้และนำความสนใจกลับมาที่การฝึก เมื่อจบ session ที่ ๑ แล้วจะให้สมาชิกกลับไปฝึกการรับประทานอาหารอย่างมีสติในอีก ๖ วันที่เหลือ การฝึกเช่นนี้จนชำนาญจะทำให้เกิดความตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เรามีโอกาสเลือกที่จะทำ ที่จะคิด ไม่เป็นไปอย่างอัตโนมัติเหมือนที่ผ่านมา
  2. การฝึก body scan ให้นั่งหรือนอนกับพื้นในท่าที่สบาย และให้สังเกตร่างกายทีละส่วน โดยไม่พยามยามไปเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอยู่ อาจจะเริ่มจากหัวแม่เท้าไปจบที่ศีรษะ การฝึกนี้จะสังเกตว่าไม่เหมือนการฝึก progressive muscle relaxation โดยผู้ฝึกจะเป็นผู้สังเกตไม่ใช่ผู้ที่ลงไปเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นทางร่างกาย(? กายยา) การฝึกเช่นนี้จะทำใน session ที่ ๑ ๒ และ ๘ โดยจะต้องฝึกเองที่บ้านในช่วง ๔ อาทิตย์แรก ซึ่งจะมีเทปพูดนำให้ฝึกตาม
  3. ในระหว่างฝึกให้เช่นเดียวกับการฝึกลูกเกด ถ้ามีความคิด ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นก็ให้สังเกตและรับรู้ นอกจากนี้จะพบอุปสรรคการง่วงนอน หรือรำคาญ ก็ให้สังเกตเอาไว้ การเกิดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บอกว่าทำไม่สำเร็จ หรือเป็นสิ่งไม่ดี แต่เป็นสิ่งที่จะได้รู้
  4. การนั่งสมาธิ โดยนั่งในท่าที่สบาย (ไม่จำเป็นต้องนั่งท่าสมาธิ) และให้สังเกตลมหายใจที่เข้าออก จะพบปรากฎการณ์เหมือนในการฝึกลูกเกดและ body scan ก็ให้เป็นผู้สังเกตเช่นเดิม แต่ในช่วงนี้การนั่งสมาธิจะเพิ่มกิจกรรมให้สังเกตความเมื่อยล้าที่เกิด ความคิดที่เป็นจากความเมื่อยล้า และให้สังเกตสิ่งแวดล้อมเช่น เสียง โดยสังเกตรายละเอียด ความดัง ความถี่ คุณภาพเสียงอื่นๆ โดยไม่ตัดสิน หรือวิเคราะห์ แล้วนำความสนใจกลับมาที่ลมหายใจ การนั่งสมาธิจะใช้ใน session ที่ ๒ ถึง ๗ โดยเพิ่มเวลาจาก ๑๐ จนเป็น ๔๕ นาที และมีการกำหนดเป็นการบ้านเกือบทุกสัปดาห์ ซึ่งจะมีเทปเปิดนำให้ปฎิบัติตาม
  5. การฝึกโยคะ (Hatha Yoga) โดยเป็นการฝึกเพื่อรับรู้ร่างกายส่วนต่างๆ และระหว่างการเคลื่อนไหว โดยเน้นให้เกิดการฝึกสติ ไม่ใช่การฝึกออกกำลังกาย เป็นโอกาสที่ทำให้เราได้รู้จักร่างกายว่าเป็นอย่างไร มีข้อจำกัดอย่างไร ในผู้ที่ฝึกโยคะบางคนได้เกิดการรับรู้ร่างกายว่ามีอยู่ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยสังเกต หลายคนจะชอบมากกว่าการทำ body scan หรือ การนั่งสมาธิ โดยจะทำโยคะใน session ที่ ๓ และจะให้ทำเป็นการบ้านในสัปดาห์ที่ ๓ ถึง ๖ โดยมีเทปเปิดนำให้ปฎิบัติตาม
  6. การเดินจงกรม โดยจะพยายามให้มีการนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน
  7. การมีสติอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน การฝึกในกิจกรรมอื่นจะทำให้การฝึกการมีสติเสมอทำได้ดีขึ้น และทำให้เกิดการตระหนักรู้ (self-awareness) ในอารมณ์ ความคิดที่เกิดขึ้น ทำให้สามารถที่จะเลือกตัดใจได้ดีขึ้น โดยการฝึกนี้จะเริ่มในสัปดาห์ที่ ๒ ให้สังเกตช่วงที่มีความสุข ๑ ครั้งต่อวันโดยจะบันทึกรายละเอียดเรื่องความคิดอารมณ์ และความรู้สึก ในสัปดาห์ที่ ๓ จะเริ่มฝึกความรู้สึกที่ไม่มีความสุข นอกจากนี้จะให้มีการฝึกสังเกตลมหายใจเมื่อมีโอกาส
  8. การสนทนาเรื่องการปฎิบัติ (การสอบอารมณ์) จะทำทุกอาทิตย์เพื่อดูประสบการณ์ที่ได้รับ ปัญหาอุปสรรค์ ซึ่งผู้นำกลุ่มจะได้อธิบายให้ทราบถึงธรรมชาติของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะเป็นปัญหาเรื่องความคิด อารมณ์ต่างๆที่มารบกวน ซึ่งผู้นำกลุ่มจะให้ผู้ฝึกดำรงการเป็นผู้สังเกตต่อไป อย่าพยายามไปเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้น ให้สนใจการปฎิบัติต่อไป บรรยากาสในการสนทนานั้นจะต้องเป็นการก่อให้เกิดการยอมรับและทำให้เกิดความต้องการค้นหาต่อไป
  9. การฝึกตลอดวัน จะทำในสัปดาห์ที่ ๖ จะเป็นการฝึกนั่งสมาธิ เดินจงกรม การทำ body scan การทำโยคะสลับกันไปทั้งวัน โดยจะพยายามไม่ให้มีการพูดเกิดขึ้น เมื่อสิ้นวันจะมีการพูกคุยประสบการณ์ที่ได้รับ
  10. การใช้โคลงกลอน จะมีการอ่านโคลงกลอนในแต่ละ session ซึ่งจะเป็นโคลงกลอนที่สัมพันธ์กับการฝึกสติ ในบางครั้อาจจะเปลี่ยนเป็นนิทานที่ทำให้ได้คิดถึงเรื่องสติ
  11. การบ้าน จะมีสองส่วนคือการฝึกสมาธิ ๔๕ นาที และการมีสติในชีวิตประจำวัน(informal mindfulness )อีก ๑๕ นาที
คุณสมบัติของครูที่สามารถนำกลุ่ม MBSR

  1. อย่างน้อยปริญญาโททางด้านสุขภาพจิต
  2. ฝึกสมาธิทุกวัน โดยถือเป็นวิถีการดำรงค์ชีวิต
  3. เข้าโปรแกรมการฝึกสมาธิ ๕ ถึง ๑๐ วันในแบบของนิกายเถรวาท(Theravadan) หรือ นิกายเซน อย่างน้อย ๒ ครั้ง
  4. มีประสบการณ์ในการฝึกโยคะอย่างน้อย ๓ ปี หรือการฝึก body-center disciplines
  5. มีประสบการณ์ ๒ ปีในการฝึกการจัดการความเครียด และโยคะหรือ body-center disciplines
  6. ผ่านการฝึก Professional program สำหรับ MBSR
  7. นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการแปลงประสบการณ์ที่มีเป็นการสอนได้ และมีทัศนคติที่ดีต่อการช่วยผู้อื่น

การบำบัดโดยใช้แนวคิดเรื่องสติ ( Mindfulness base treatment)

งานสุขภาพจิตของทางตะวันตกได้นำเอาหลักการสติ( Mindfulness ) ไปปรับใช้ในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต หรือในการพัฒนาสุขภาพจิต โดยนำเอาเฉพาะหลักการแนวคิดของสติไปใช้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา และพบว่าสามารถที่จะทำให้บุคคลที่ได้รับการช่วยเหลือสามารถบรรเทาหรือพ้นจากปัญหาทางสุขภาพจิตได้ (ทุกข์ - ) โดยแนวทางเรื่องสติได้ถูกนำไปใช้หลังจากแนวทางสมาธิ( concentration-based meditation ) ได้ถูกนำไปใช้ในโลกตะวันตกนาน โดยข้อสำคัญที่แยกสมาธิออกจากสติคือการที่สมาธิจะให้ความสนใจไปยังสิ่งๆเดียว เช่น การหายใจ หรือคำพูดบางคำ เช่น matra ใน Transcendental Meditation ส่วนแนวทางสตินั้นจะต้องคอยติดตามรูปและนามที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งก็เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธที่ สมาธินั้นเกิดขึ้นก่อนพุทธกาล สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบใหม่คือสติ

บุคลากรทางสุขภาพจิตทางตะวันตกมองว่าการมีสติคือการตั้งใจที่จะให้เกิดความสนใจกับประสบการณ์ที่เกิดในปัจจุบัน โดยไม่ไปตัดสินหรือยอมรับ (intentionally focusing one’s attention on the experience occurring at the present moment in a nonjudgmental or accepting way Kabat-Zinn , 1990 อ้างใน Mindfulness-Based Treatment Approaches) ซึ่งในทางพุทธศาสนาได้ให้ความหมายของสติไว้หลายอย่าง เช่น ความระลึกรู้ นึกได้ ความไม่เผลอ การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง จำการที่ทำหรือคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระธรรมปิฎก) หรือ ความระลึกได้ถึงความปรากฏของรูปนาม สติเป็นอนัตตาเช่นเดียวกับธรรมทั้งปวง ดังนั้นไม่มีใครที่จะสั่งหรือจงใจให้เกิดสติเกิดขึ้นได้ เว้นเสียแต่จะมีเหตุที่สมควร สติจึงจะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามให้เกิด เหตุให้เกิดสติได้แก่การที่จิตรู้จักและจดจำสภาวะของรูปนามได้แม่นยำ เพราะได้เจริญสติปัฎฐานหรือตามสภาวะของ กาย เวทนา จิต หรือธรรมเนืองๆ (ทางเอก พระประโมทย์ ปาโมชโช ) โดยจะเห็นว่ามีมุมมองที่เหมือนกัน เช่น การอยู่ในปัจจุบัน การเป็นผู้สังเกตการณ์ไม่ใช้ผู้เข้าไปมีส่วนร่วม แต่ก็มีมุมมองที่ต่างกัน เช่นในประเด็นความตั้งใจทำให้เกิด

ในทางตะวันตกได้นำหลักการของสติไปประยุกต์ใช้ โดยมีแนวทางการช่วยเหลือที่ได้รับการยอมรับค่อนข้างมากอยู่ ๔ แนวทางคือ
๑. Mindfuness-base stress reduction ( MBSR )
๒. Mindfuness-base cognitive therapy ( MBCT)
๓. dialectical behavior therapy( DBT )
๔. acceptance and commitment therapy ( ACT )

โดยความต่างกันของทั้ง ๔ วิธีจะเห็นวิธีการที่สอนให้เกิดความตระหนักรู้ในสติ (mindful awareness) บางวิธีจะต้องมีการนั่งเพื่อให้สติอย่างเป็นแบบแผน บางวิธีจะเน้นการมีสติในชีวิตประจำวัน เช่นขณะรับประทานอาหาร หรือ ล้างจาน บางวิธีจะฝึกทั้งสองอย่าง แต่ทุกวิธีจะใช้แนวสติ โดยให้สังเกตการณ์เกิดของความคิด ความจำ อารมณ์ที่เกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นก็ให้เกิดความตระหนักรู้ว่าได้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น (การเกิดของรูปนาม - ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน) โดยผู้ฝึกจะอยู่ในบทบาทของผู้สังเกตการณ์ไม่ใช่ผู้ลงไปยุ่งเกี่ยว นอกจากนี้ยังสังเกตการณ์เมื่อยล้าของร่างกายที่เกิดขึ้น (เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน) และให้ใช้คำพูดบ่งถึงที่รู้สั้นๆเช่น ปวด เมื่อย หรือเรื่องอารมณ์ เช่น เสียใจ ในบางแนวทางก็จะให้สังเกตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเช่น เสียง กลิ่น โดยการสังเกตทั้งหมดจะไม่ทำการตัดสิน ตำหนิตนเอง ตีความ ปล่อยให้เกิดขึ้นเองโดยการรู้ เช่นจะไม่พยายามประเมินความคิดว่ามีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล ไม่พยายามไปเปลี่ยนความคิดหรือความรู้สึก ไม่พยายามไปลดความรู้สึกที่ไม่ดี โดยผู้ฝึกจะเป็นเพียงผู้สังเกต ความคิด ( cognition ) ความจำ ( memory ) ความรู้สึก ( sensation ) และอารมณ์ (emotion) (Mindfulness-Based Treatment Approaches)
Note :- แนวทางดังกล่าวข้างต้นซึ่งเรียกว่า Mindfulness-Based นั้นจะเรียกว่า third wave CBT

IBM 4 -Tier E-Learning Model

E-Learning เป็นสิ่งที่เริ่มเข้ามาใกล้เราทุกวัน เราพบว่าความรู้ที่เราเรียนเมื่ออยู่มหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว เราอาจต้องคอยปรับปรุงความรู้ของเราอยู่ตลอดเวลา เราอยู่ในสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตไปโดยไม่รู้ตัวไปแล้ว
สำหรับผมเมื่อมีคำถามผมจะคิอว่ามีใครแก้ปัญหานี้หรือสนใจเรื่องนี้หรือไม่ Internet เป็นแหล่งในการค้นหาข้อมูลที่สำคัญ ในช่วง ๓-๔ เดือนที่ผ่านมาผมพบต้องมารับผิดชอบบางส่วนกับ E-Learning ซึ่งเดิมผมคิดว่าไกลตัวมาก แต่เมื่อต้องมาศึกษาพบว่ามันมี impact กับหน่วยงานมาก เช่น ผมพบว่ามีแพทย์ใช้ทุน ๑ ท่านที่เรียนต่อเฉพาะทางเองไปยังอเมริกาโดยใช้ระบบ e-learning และไปบินเข้า class จริงตามกำหนด และอีกท่านหนึ่งได้ทุนจากหน่วยงานผมเพื่อเรียนต่อ ทางต่างประเทศกำหนดว่าในปีแรกไม่ต้องไปแต่ให้เรียนผ่าน e-learning และเมื่อผ่านปีที่ ๑ แล้วจึงค่อยไปเรียนจริงต่อที่ต่างประเทศ
ผมต้องเริ่มมาคิดการพัฒนาระบบ e-learning ให้กับหน่วยงาน ประเด็นคือผมจะหากรอบแนวคิดอะไรเพื่อนำมาใช้ ผมอ่านพบกรอบแนวคิด เรื่อง IBM 4 -Tier E-Learning Model และสามารถค้นเพิ่มได้จาก web site ของ IBM โดยจะแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น ๔ Tier ประกอบด้วย
  1. Tier ที่ 1 เป็น one-way learning
  2. Tier ที่ 2 เป็น interactive learning
  3. Tier ที่ 3 เป็น collaborative learning
  4. Tier ที่ 4 เป็น face to face learning
  • one-way learningจะเป็นการเรียนทางเดียว เช่น การเรียนจากเอกสารที่อ่าน จาก vdo จาก power point จาก mp3 จาก web page โดยเนื้อหาจะต้องไม่มากเกินไป ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่จะมีความรู้ที่อยู่ในรุปที่จะเป็น one-way learning อยู่มาก
  • interactive learning จะเป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับโปรแกรมที่เรียน เช่น การตอบคำถามแล้วถ้าตอบถูกหรือผิดจะมีคำอธิบายขึ้นมา หรือมีการให้รางวัล หรือการบังคับให้ผู้เรียนต้องมีปฎิสัมพันธ์โปรแกรมจึงจะทำต่อ เช่น CAI การพัฒนาจะต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงและต้องมีการออกแบบที่ดีพอควร จะพบการใช้ interactive learning ในองค์กรใหญ่ๆที่มีการลงทุน
  • collaborative learning เป็นการเรียนรู้โดยมีปฎิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่าย เช่นการ ใช้ web boarad , การใช้ chat ประเด็นสำคัญคือการสังคมโดยผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งอาจเป็นการเรียนแบบ Synchronous learning (มีปฎิสัีมพันธ์ทันทีเช่น chat ) หรือ ASynchronous learning(มีปฎิสัีมพันธ์เมื่อใดก็ เช่น web board , e-mail)
  • face to face learning จะเป็นการเรียนและพบกันในชั้นเรียน
แนวคิดนี้ทำให้เราสามารถเห็นการพัฒนาหลักสูตรที่ชัดเจนขึ้นเนื่องจากเราสามารถแบ่งโครงสร้างเนื้อหาได้ เช่น ถ้าสมมุติต้องการพัฒนาหลักสูตร ๑๒ สัปดาห์ เราสามารถ
  • face to face ในช่วงปฐมนิเทศเพื่อแนะนำหลักสูตรและในช่วงอาทิตย์สุดท้ายเพื่อเรียนรู้แบบกลุ่ม
  • one-way learning เป็นสื่อที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้เองแต่อาจต้องมีการกำหนดและตัดให้กระชับ ซึ่งต้องควบคู่ไปกับการมีกำหนดงานที่ต้องส่งผ่านระบบการเรียนแบบ collaborative learning โดยแบ่งแต่ละรายวิชาเป็นช่วงสั้นๆ และมีงานที่ส่งชัดเจนเป็นช่วงๆ
สิ่งที่เป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จในประเด็นของผู้เรียนคือ แรงจูงใจที่ชัดเจนที่ระบบต้องสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจทางลบ หรือแรงจูงใจทางบวก

อะไรไหว และการหยุดไหว

เมื่อเราพูดถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน บางคนจะพบว่าเรามีอารมณ์มากมาย และสามารถอธิบายว่าเกิดจากอะไรทำให้เราเกิดอารมณ์เหล่านั้น แต่ในบางครั้งเราจะพบเหตุการณ์ ๒ แบบคือ
  • รู้แต่ไม่ทัน อารมณ์มันไหวไปเร็วมากจนจับอะไรไม่ทัน (C มีมากมาย A มีมาก)
  • ไม่รู้อารมณ์ตนเอง แต่รู้สึกแย่ โดยไม่สามารถจับได้ทั้ง C และ A
ผมพบรูปภาพที่มีคนส่งมาให้ซึ่งสามารถทำให้เข้าใจการไหวและการพยายามจับแต่จับไม่ได้ ให้ลองมองภาพข้างล่างดูว่าเป็นอะไร



จะพบว่าเกิดการไหวของภาพ ทั้งที่จริงๆแล้วภาพอยู่นิ่งแต่เนื่องจากการพยายามที่จะจับภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในเกิดการเคลื่อนไหวของภาพขึ้น ถ้าต้องการให้ภาพหยุดเคลื่อนไหวให้ลองมองไปที่เมล็ดใดเมล็ดหนึ่งในภาพจะพบว่าภาพทั้งหมดหยุดเคลื่อนไหว
จากภาพสิ่งที่เราได้เรียนรู้คือการที่จะหยุดไม่ให้ไหว ให้หยุดอยู่ที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง (เราจะมาพูดเรื่องอารมณ์ในความหมายของคนทั่วไป ความหมายทางจิตวิทยาตะวันตก และทางพุทธศาสนา ที่มีความหมายต่างกันอย่างมาก)

ใครทำให้เราโกรธ

บ่อยครั้งในชีวิตที่เรารู้สึกโกรธ เรารู้สึกคนรอบข้างทำให้เราโกรธ
  • เราอาจโกรธลูกที่สั่งให้ไปแรงฟันแล้วยังไม่ยอมลุกไปเสียที
  • โกรธเพื่อนร่วมงานที่เอาเปรียบเรา
  • เสียใจที่แม่ไม่เข้าใจเรา
  • น้อยใจแฟนที่ไม่ฟังที่เราพูด
เราจะพบว่าสิ่งรอบข้างทำให้เรามีความไม่สบายใจ (บางครั้งทำให้เรามีความสุข) ถ้าถามว่าใครทำให้เราเกิดความโกรธ เราจะพูดว่า ลูก เพื่อน แม่ แฟน
ลองมาดูตัวอย่าง

  • เราขับรถมา แล้วมีรถจี้ตามหลังเรามา พอดีเจอไฟแดง เราเบรคเป็นคันแรก รถคันหลังเบรคตามแล้ว บีบแตรเสียงดัง เราเริ่มรู้สึกมีอารมณ์ หายใจเข้า ๓ ครั้ง ปรากฎว่ายังบีบแตรอีก เราเกิดอารมณ์โกรธ เิกิดความคิดว่า จะรีบไป ??? ที่ไหน ถ้าถามว่าใครทำให้เราโกรธ เราจะตอบว่า เสียงแตรจากรถคันหลังทำให้โกรธ หรือคนในรถคันหลังทำให้โกรธ ???

  • กรณีหันหลังกลับไปมองพบว่าเป็นเพื่อนที่เราไม่ได้พบกันมา ๑๐ ปี และเราอยากพบมาก ที่ขับรถตามมาเพราะพอดีเราขับรถสวนรถเขาไป เราเกิดอารมณ์ดีใจ ถ้าถามว่าใครทำให้เราดีใจ เราจะตอบว่า เสียงแตรจากรถคันหลังทำให้ดีใจ หรือคนในรถคันหลังทำให้ดีใจ ???

  • กรณีหันหลังกลับไปมองพบว่าเราวางกระเป๋าสะพายไว้หลังรถซึ่งเกี่ยวกับเสาอากาศอยู่ ปากกระเป๋าเปิดอยู่ และคนขับตามมาเพื่อบอกเราให้รู้ เราเกิดอารมณ์ตกใจ และคิดต่อว่าของสำคัญจะหล่นหายหรือไม่ ถ้าถามว่าใครทำให้เราตกใจ เราจะตอบว่า เสียงแตรจากรถคันหลังทำให้ตกใจ ???









  1. A - Activating Event เสียงแตรรถ
  2. C - Emotional Consequence อารมณ์
จากตัวอย่างเราจะเห็นว่า แสียงแตรรถ(A) ทำให้เราเกิดอารมณ์ได้ต่างๆกัน (C) สิ่งที่อยู่ขั้นกลางคือ ความคิด (B-Believe) ดังนั้นเราจะเห็นว่า ความคิดเป็นตัวกำหนดอารมณ์ที่ตามมา
ตามปกติถ้าถามว่าใครทำให้โกรธ เราจะบอกว่า A ทำให้เราโกรธ และถ้าจะไม่ให้โกรธ สิ่งที่แก้คือต้องไปแก้ A ดังนั้นในชีวิตของเราเราจะพยายามไปแก้ A ที่อยู่นอกตัว และเมื่อแก้ไม่ได้เราจะยิ่งโกรธคนอื่นมากขึ้น และมักจะมีอารมณ์เกิดขึ้นอย่างซับซ้อนมากขึ้น เป็นวงจรของ A-B-C และ C จะกลายเป็น A ใหม่ของวงจรถัดไป
แต่ถ้าดูตามรูปสิ่งที่ทำให้เราโกรธคือความคิด ความเชื่อของเราที่ทำให้เราเกิดอารมณ์และนำไปสู่การคิดปรุงแต่ต่อเป็นวงจร ดังนั้นถ้าเราสามารถรับรู้สักนิดหนึ่งว่าเราเป็นคนเลือกที่จะความรู้สึก ในฐานะคนธรรมดาเราเลือกที่จะรู้สึกอย่างไรก็ได้ แต่ต้องรู้ว่าเราเป็นคนเลือกไม่ใช่คนอื่นกำหนด

เพียงแค่เปลี่ยนความคิดชีวิตเราสามารถเปลี่ยนได้

ผมยังพอจำนิทานเซนเรื่องหนึ่งได้ ที่อาจารย์ชี้ไปที่ธงที่บนเสาแล้วถามเณรว่าอะไรไหว
  • เณรรูปแรกตอบว่า ธงไหว
  • เณรรูปที่ ๒ ตอบว่าลมไหว ทำให้ให้ธงไหว
  • เณรรูปที่ ๓ ตอบว่าใจไหว
ผมขอจบบทความนี้ไว้ว่าเมื่อเราเกิดอารมณ์ ให้รู้ว่าเราเป็นคนเลือก หรืออาจกล่าวได้ว่า ใครทำให้เราโกรธ คดตอบคือเราเลือกโกรธเอง

แนะนำ Art Feeling


Art Feeling เป็นกระบวนการที่ใช้ศิลปะเป็นสื่อเพื่อให้สามารถเข้าใจถึงอารมณ์ตนเองได้ โดยไม่ต้องการการแปลความจากผู้อื่น มีความหมายที่เป็นเฉพาะของตนเองเท่านั้น บุคคลอื่นจะไม่สามารถเข้าใจไ้ด้ ถ้าผู้เป็นผู้สร้างผลงานนั้นไม่อธิบาย เพื่อลดการใช้กระบวนการคิดที่เป็นตัวขัดขวางการแสดงออกของอารมณ์ ศิลปะที่สร้างนั้นจะพยายามไม่ให้เป็นสิ่งรูปร่างที่ทางกายภาพที่บอกได้ว่าเป็นอะไร

Art Feeling เป็นกระบวนที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถเข้าใจอารมณ์ของเราเอง โดยในครั้งแรกผู้พัฒนาเป็น non professional ซึ่งมีปัญหากับการเป็น HIV ของตนเอง จึงได้นำศิลปะมาช่วยเพื่อลดภาวะทางอารมณ์ของตนเอง ซึ่งพบว่าทำให้เข้าใจอารมณ์ตนเองและสามารถผ่านความรู้สึกที่ไม่ดีมาได้ ต่อมาจึงได้นำมาใช้ในผู้ป่วยยาเสพติดที่มีปัญหาไม่สามรถเข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ ซึ่งพบว่าได้ผลอย่างมาก



ตัวอย่างการใช้ดินน้ำมันสร้างศิลปะเพื่อเข้่าใจอารมณ์

ในช่วงที่อจ. วชิราและผมได้ไปฝึกงานเรื่องขุมชนบำบัด (Therapeutic community -TC) ที่ DAYTOP นิวยอร์ค เราได้เข้าไปอยู่ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนบำบัด (โดยทุกคนคิดว่าเราเป็นคนไทยที่ติดยาและมารับการบำบัด) เราพบเพื่อนสมาชิกหลายคนที่มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น การไม่สามารถควบคุมความโกรธตนเองได้ ทีความรู้สึกเกลียดสมาชิกอื่นที่เป็นเพศชาย (ที่มีลักษณะเหมือนพ่อ ซึ่งเรามารู้ภายหลังใน session ว่ามีปัญหาถูกทารุณกรรมทางเพศจากพ่อเลี้ยง ) หรือไม่รู้อารมณ์ตนเอง สมาชิกกลุ่มนี้จะได้รับการเข้ากิจกรรม art feeling ซึ่งมีประมาณ ๘ sessions และมี session สุดท้ายเป็นการปั้นดิน (Clay )พบว่าสมาชิกเหล่านี้สามารถเข้าได้ตนเองได้ดีขึ้น พฤติกรรมที่เป็นปัญหาลดลง


สิ่งที่ art feeling ช่วยให้ดีขึ้นอาจเนื่องจาก
  1. การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายเป็นอิสระที่เราสามารถแสดงออกผ่่านสี (สิ่งแวดล้อม)
  2. การได้ผ่อนคลายตัวศิลปะเอง โดยไม่ต้องกลัวถูกหรือผิด (เนื่องจากการระบายสีแบบไม่ต้องมีรูปแบบว่าจะสวยหรือไม่สวย) ขณะวาดอยู่กับอารมณืที่จะนำไปสู่ศิลปะีที่ออกมา (กระบวนการศิลปะ)
  3. การได้ถ่ายทอดอารมณ์ของเราออกมา ในช่วงการบรรยายภาพ (กระบวนการทางจิตวิทยา - ได้ ventilate เข้าใจอารมณ์ตนเอง เข้าใจกระบวนการคิด ใช้ projection self ออกไปที่รูปทำให้ไม่ต้องกลัวเสีย self image )

สิ่งที่น่าจะเป็นข้อเด่นของ art feeling คือ
  • การที่ผู้จัด session ไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาเฉพาะทาง แต่ให้เข้าใจธรรมชาติของกระบวนการทำ ซึ่งต่างจาก Art therapy ซึ่งจะต้องจบการศึกษาเฉพาะ เนื่องจากมีการบวนการตีความศิลปะด้วย (????)
  • ผู้จัดไม่ใช่ Therapist แต่เป็นผู้สร้างสภาวะแวดล้อมให้เกิดกระบวนการบำบัด
  • สามารถทำได้ง่าย มีข้อเด่นคือสามารถทำเป็นกลุ่มได้ ซึ่งการทำเป็นกลุ่มจะมีข้อเด่นเรื่องการเข้าใจอารมณ์ผู้ปื่นด้วย (แต่ต้องมี trust ในกลุ่ม)
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างความสัมพันธ์กับ client ที่พบกันครั้งแรก ซึ่งเราจะพบปัญหา resistance มาก
  • สามารถเข้าใจ client ได้เร็วเนื่องจาก art feeling คล้าย play therapy ที่ใช้ในเด็ก client สามารถ project ตัวตนออกไปได้ ดังนั้นสามารถพูกเรื่องของตนเองโดยไม่เจ็บปวด ทำให้สามารถเข้าใจตนเองได้เร็ว (ในผู้ใหญ่ esp วัยรุ่นเราจะพบปัญหารการที่ไม่สามารถพูดออกมาได้ หรือ ไม่อยากจะพูด) ใน session ที่ดำเนินได้ดีเราจะพบว่า client อยากที่จะพูด และมักจะมีอารมณ์ที่คั่งค้างออกมาได้ง่าย โดยไม่กลัว (อยู่ที่สภาวะแวดล้อมและบรรบายกาศ)

การใช้ art feeling อาจใช้ในสถานการณ์ต่างๆดังนี้
  • กระบวนการช่วยเหลือทางอารมณ์
  • ในครั้งแรกๆของการให้คำปรึกษา
  • ในการละลายพฤติกรรมของกลุ่มที่ทำให้เกิดอารมณ์ร่วม (อยู่ที่การเลือก theme ของการทำ art feeling นั้นด้วย )