วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Safe place

บทนำ
  • ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจ(Psychological Trauma) เช่นหลังภาวะภัยพิบัติ หรือความรุนแรงในเด็ก การบำบัดในปัจจุบันจะเน้นการได้ผ่านพ้นจากความทรงจำที่มีต่อบาดแผลทางจิตใจนั้นโดยใช้กระบวนการ exposure ปัญหาที่เราจะต้องเผชิญคือผู้ป่วยมีความพร้อมทางจิตใจที่จะผ่านกระบวนการบำบัดโดยใช้ exposure หรือไม่ และระหว่างการบำบัดถ้าผู้ป่วยทนไม่ได้กับ exposure จะทำอย่างไร
  • ใน EMDR นั้นผมเคยผ่านการอบรม ๒ ครั้ง ในครั้งแรกจะเน้นการใช้ EMDR ลงปฎิบัติอย่างรวดเร็ว ส่วนในครั้งที่ ๒ ที่ผ่านอบรมนั้น วิทยากรจะไม่ยอมให้เราเรียนกระบวนบำบัด ๘ ขั้นตอนของ EMDR เลยจะเน้นการ stabilize ทางจิตใจกับผู้ป่วยก่อน และให้เราไปฝึกกระบวนการ stabilize เป็นเวลา ๑ ปีก่อนจึงจะมาเรียนต่อ
  • ซึ่งเมื่อได้ถามกับผู้ร่วมการอบรมจากอินโดนีเซีย ซึ่งบอกว่าความผิดพลาดของอินโดนีเซียในปีแรกคือการรีบใช้ EMDR โดยไม่ใช้กระบวนการ stabilize ก่อน กว่าจะกลับตัวได้ต้องใช้เวลาถึง ๑ ปี ดังนั้นกระบวนการ stabilizeจึงมีความสำคัญมาก
  • การ stabilize ทางจิตใจที่สำคัญมากอันหนึ่งคือ การสร้างที่ปลอดภัยในจิตใจ ( safe place ) เป็นการสร้างสถานที่ในจินตนาการของผู้ป่วยเอง ที่ไม่มีใครรู้จักและไม่มีใครสามารถไปถึงได้ยกเว้นผู้ป่วยเองเป็นสถานที่ที่ผู้ป่วยสามารถเข้าไปเพื่อที่พัก และผ่อนคลาย
  • เรามักจะใช้ safe place เมื่อจบแต่ละ session หรือระหว่างที่ทำ EMDR แล้วผู้ป่วยรู้สึกทนไม่ได้ หรือในระหว่าง sessions ที่อยู่บ้่านแล้วเกิดความเครียดจากประเด็นอะไรก็ตาม เช่น re-experience
  • ดังนั้นเราจะฝึกให้ผู้ป่วยรู้จัก safe place และสามารถพัฒนาทักษะนี้จนสามารถกลับไปอยู่ใน safe place ได้อย่างง่ายดายแม้ในขณะที่มีความเครียดสูง ซึ่ง client จำเป็นต้องไปฝึกเองด้วย

ขั้นตอน (ดัดแปลงมาจากเอกสารการอบรม EMDR)
  • ขอให้หลับตาและจินตนาการถึงสถานที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น สภานที่ที่เราจินตนาการนี้อาจเป็นที่รวมของสถานที่หลายๆแห่งที่เรารู้สึกชอบ สถานที่นี้อาจเป็นสถานที่จริงหรืออาจเป็นสถานที่ในจินตนาการ สถานที่นี้อาจอยู่ใกล้หรืออาจอยู่ไกล อาจอยู่ในโลกนี้ หรือที่อื่นก็ได้
  • ขอให้ใช้เวลาเพื่อหาสถ่านที่นั้น อาจจะต้องใช้การจินตนาการ สถานที่ใดที่ผลุดขึ้นในความคิดหรือจินตนาการ ถ้าเป็นที่ที่รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น สบาย ก็ถือว่าใช้ได้
  • ผมจะให้คุณใช้เวลาอยู่กับจินตนาการสักครู่ เมื่อใดที่คุณพบสถานที่ที่คุณคิดว่าใช่แล้วให้บอกผมให้ทราบ
  • ขอให้ตรวจสอบอีกครั้งว่าสถานที่นี้เป็นที่ที่ปลอดภัยและอบอุ่น ขอให้ตรวจสอบทุกการรับรู้ (ภาพ เสียง สัมผัส กลิ่น ความรู้สึก)
  • สิ่งที่เห็นทางภาพนั้นพอใจหรือไม่ ถ้ามีอะไรไม่ชอบขอให้เปลี่ยนได้ ขอให้จำไว้เสมอว่า ในจินตนาการเราสามารถเปลี่ยนทุกสิ่งตามที่เราต้องการได้ เหมือนเรามีเวทมนต์
  • สิ่งที่เราได้ยินในจินตนาการเราพอใจหรือไม่ ถ้าพอใจก็ขอให้เสียงนั้นคงอยู่ ถ้าไม่พอใจขอให้เปลี่ยนหรือลบเสียงนั้นไป
  • อุณหภูมิของสถานที่นั้นเป็นอย่างไร
  • กลิ่นในสถานที่นั้นเป็นอย่างไร ต้องการเพิ่มหรือลด
  • พื้นที่พอเพียงที่เราสามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระหรือไม่ ถ้ากว้างหรือแคบไปให้ปรับได้
  • ต้องการขอบเขตรอบพื้นที่ของเราหรือไม่ ต้องการรั้วที่ไม่ให้ใครเข้ามาในพื้นที่ของเราเพื่อให้รู้สึกปลอดภัยหรือไม่ ถ้าต้องการให้จินตนาการจนเรารู้สึกพอใจไม่ว่าจะเป็นจริง หรือเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นรั้วตามธรรมชาติ หรือ พื้นที่ที่ไม่มีใครรู้จัก
  • ถ้าพบว่าีมีใครอยู่ในพื้นที่ที่เราจินตนาการนี้ขอให้กันเขาออกไป ในพื้นที่นี้เป็นของเราเพียงคนเดียว
  • เมื่อเราได้จินตนาการถึงสถานที่นี้แล้ว อยากทำให้ปลอดภัยมากขึ้นหรือไม่ ถ้าต้องการขอให้ทำเพิ่มเติม
  • รู้สึกอย่างไรกับสถานที่ปลอดภัยที่เราสร้างขึ้น ความรู้สึกทางร่างกาย ทางจิตใจ ภาพของสถานที่ เสียงใมที่นั้น กลิ่น ความรู้สึกสัมผัสทางร่างกาย การเกร็งหรือผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ การหายใจ
  • ถ้าทกุอย่างไปด้วยดี ขอให้ตัดสินใจเลือกการเคลื่อนไหว เช่น การหายใจเข้าลึกๆ การขยับมือ หรือ คำพูดบางคำ เช่น ผ่อนคลาย สบาย เืพื่อเชื่อมโยงความรู้สึกนี้เข้ากับตัวกระตุ้นที่เราสร้างขึ้น เช่น เมื่อเราหายใจเข้าลึกๆ และพูดว่าผ่อนคลายสบาย เราสามารถกลับมายังสถานที่นี้ได้อีก
  • อาจมีบางอย่างที่เราต้องการเปลี่ยในสถานที่นี้เพื่อให้เรารู้สึกสบายหรือปลอดภัยมากขึ้น ของให้ตรวจสอบและทำการเปลี่ยน ซึ่งในอนาคตเราสามารถเปลี่ยได้เสมอตามที่เเราต้องการ
  • ขอให้ใช้เวลาอยู่กับสถานที่นี้อย่างปลอดภัยและสบายสักครู่หนึ่ง
  • ขณะนี้จะขอกลับมาอยู่ในปัจจุบัน โดยผมจะค่อยๆนับ ๑ ถึง ๓ เมื่อถึง ๓ แล้สขอฝห้ค่อยๆเปิดตาขึ้น และรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย แจ่มใส
  • ๑ เริ่มรู้สึกถึงสิ่งรอบข้้า่งมาก
  • ๒ ได้ยินเสียงรอบข้าง รู้สึกถึงสิ่งสัมผัสรอบตัว
  • ๓ ขอให้ลืมตาขึ้น รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย


หมายเหตุ
  • บางคนอาจจะเริ่มต้นหา safe place โดยไม่ปิดตาก็เป็นไปได้
  • safe place อาจมาเปลี่ยนระหว่าง session ก็ได้ ถ้ากระบวนการดำเนินไปแล้ว client ไบว่าไม่ใช่
  • ระหว่างใน session จะมีการโต้ตอบระหว่างเรา และ client ตลอด ถ้ามีปัญหาอาจกลับมาปัจจุบันเพื่อคุยถึงประเด็นปัญหา และเริ่ม session ใหม่ได้
  • safe place ไม่ควรมีบุคคลอยู่ในนั้น ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนที่รักหรือไม่รัก

    ในประสบการพบปัญหาใน session มีการจินตนาการถึงพ่อซึ่ง client รู้สึกอบอุ่น แต่พอบรรยายไปสักครู่ คิดถึงพ่อ ซึ่งท่านเสียไปแล้วประกฎว่าร้องไห้ออกมา ทำให้ต้องหยุด session และสถานที่นั้นไม่สามารถใช้เป็น safe place ได้่อีก ดังนั้นบุคคลจะมีปัญหาที่เรามี ambivalence ซึ่งจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้


EMDR 8 Phases

(คำแปลภาษาไทยอาจไม่ถูกต้องต้องขออภัยด้วยครับ บทความนี้ไม่แน่ใจว่าอ่านหรือแปลงมาจากที่ใด เนื่องจากเรียบเรียงช่วงเรียนได้ข้อมูลมามากไปได้บันทึกว่าได้มาจากที่ใด )

Phase ของการบำบัดในแต่ละครั้ง
  1. ประวัติ client และการวางแผนการรักษา
  2. การเตรียมการ (Preparation)
  3. การประเมิน (Assessment)
  4. การทำให้หมดไป ( Desensitization )
  5. การติดตั้ง (Installation)
  6. การตรวจสอบร่างกาย (Body Scan)
  7. การปิด (Closure)
  8. การประเมินอีกครั้ง ( Reevaluation )

1.ประวัติ client และการวางแผนการรักษา
  • ประเมินว่า client สามารถ cope ความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะที่จะดึง traumatic event ที่อยู่ในความจำที่ยังไม่ประมวลผลออกมา โดยดู personal stability ความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และสุขภาพโดยทั่วไป
  • การสัมภาษณ์ทางสุขภาพจิตโดยเน้น ลักษณะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาการ และลักษณะของบุคลิกภาพ.
  • การค้นหาเป้าหมายของ EMDR ที่จะนำไปใช้บำบัด ประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ ตัวกระตุ้นปัจจุบันที่ทำให้เกิดการตอบสนองที่เป็นปัญหา รวมทั้งพฤติกรรมทางบวกและทัศนคติที่สามารถนำมาใช้ช่วย client ในอนาคต
2. การเตรียมการ (Preparation)
  • สร้างความสัมพันธภาพเพื่อนำไปสู่การรักษาที่ดี
  • อธิบายทฤษฎีของ EMDR , กระบวนการและผลของการบำบัด (ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง)
  • ชี้แจงในสิ่งที่ client กังวล
  • สอนทักษะการผ่อนคลายและ safety procedures
3. การประเมิน (Assessment)
  • เลือกเป้าหมายปัจจุบันที่ต้องการและตรวจสอบการตอบสนองที่เกิดขึ้นก่อนการบำบัด
  • กำหนดความจำเป้าหมายของ client ที่ต้องการ กำหนด visual image ที่แสดงถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถกำหนดภาพที่ต้องการได้ให้ใช้คำพูดที่สามารถเป็นตัวแทนเหตุการณ์นั้นได้
  • ให้ client ประเมินความคิดทางลบ ( negative cognition - NC) ที่สัมพันธ์กับ image และสามารถเป็นตัวแทนความคิดที่ client ที่มีต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น [ ตัวอย่างเช่น ผมแย่ที่ไม่สามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ e.g., “I am ____ (worthless, unlovable, dirty, bad, etc.).”].
  • client เลือกความคิดทางบวกที่ต้องการ ( positive cognition - PC) ที่จะนำไปแทนที่ความคิดทางลบ [ เช่น ผมทำดีที่สุดแล้ว e.g., “I am ____ (worthwhile, lovable, etc.).] และประเมินความคิดนั้นกับ VOC scale.(Valid of Cognition ความรู้สึกว่าความคิดนั้นจริง )
  • ให้ client รักษาภาพและความคิดทางลบนั้นอยู่ในจิตสำนึก อธิบายอารมณ์ที่เกิดขึ้นและประเมินอารมณ์ที่รบกวนนั้นในรูปของ SUD scale.(Subjective Unit of Disturbance )
  • ให้ client มุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มดึงเราเหตุการณ์ขึ้นมาสู่จิตสำนึก และอธิบายอาการที่เกิดขึ้น
4. การทำให้หมดไป ( Desensitization )
  • ให้ client รักษาภาพและความคิดทางลบนั้นอยู่ในจิตสำนึก รวมทั้งความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้น เริ่มให้ client กรอกตาตามแนวทางที่กำหนด ( sets of eye movements EMs) เพื่อให้เกิดการหมดไปเองของ ภาพ ความคิดและอาการทางร่างกาย (achieve desensitization).
  • ให้ทำ Desensitization ไปจนกว่า SUDs จะมีค่าเท่ากับ 0 หรือ 1.
  • การกรอกตา(Eye Movement - EM) อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะลดความทุกข์ทรมานของ client ได้ อาจจำเป็นต้องใช้กระบวนการอื่นร่วมด้วย
5. การติดตั้ง (Installation)
  • ให้ตั้งสมาธิไปที่ความคิดทางบวก ( PC ) เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความภูมิใจในตนเอง (self-efficacy and self-esteem.)
  • ให้รักษาความคิดทางบวก(PC)นั้นไว้พร้อมกับภาพของเหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลทางใจที่ได้รับการบำบัด(desensitized trauma image) และให้กรอกตาไปจนกว่า VOC จะมีค่าถึง 7 ( ซึ่งเรามักจะพบว่าค่าของ VOC จะเปลี่ยนไปบ้างแล้วตั้งแต่การ desensitize).
  • การที่ค่า VOC ไม่สามารถเพิ่มได้ถึง 7 อาจไม่เป็นปัญหาถ้าสิ่งนั้นมีเหตุผลและมีความเหมาะสม ( เช่น ไม่เป็นเรื่องของพยาธิสภาพ) แต่ถ้าเป็นพยาธิสภาพจะต้องพยายามทำให้ถึงเป้าหมาย.
6. การตรวจสอบร่างกาย (Body Scan)
  • เมื่อได้มีการติดตั้งความคิดทางบวกแล้ว ให้ client รักษาความคิดทางบวก(PC)นั้นไว้พร้อมกับภาพของเหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลทางใจ และให้ใช้จิตใจสำรวจร่างกายทีละส่วนจากศีรษะไปถึงปลายเท้า ประเมินว่ามีความเครียดหรืออาการทางร่างกายใดที่ยังหลงเหลืออยู่
  • ความตึงเครียดและความรู้สึกทางร่างกายเป็นเป้าหมายในการรักษาช่วงนี้ การลดความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้นจาก trauma ที่ได้รับการบำบัดโดยการนำข้อมูลดิบไปประมวล หรือ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจเผยให้เห็นมีข้อมูลดิบที่เกิดจากการบาดเจ็บทางจิตใจที่ต้องการบำบัดเพิ่มขึ้น
7. การปิด (Closure)
  • ไม่ว่าการประมวลข้อมูลที่ client ได้จากประสบการณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ แต่เมื่อจบแต่ละ session เป้าหมายคือการทำให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่ความสมดุลย์.
  • จะมีการให้ความรู้กับ client ว่ากระบวนการบำบัดยังคงดำเนินอยู่ ในช่วงระหว่างการรักษาแต่ละครั้ง client อาจจะพบอาการเกิดขึ้น เช่น มีความคิด ภาพ หรือ อารมณ์ของเหตุการณ์ trauma เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี (positive sign) โดยให้ client สังเกตอาการเหล่านั้นและมาบอกในครั้งถัดไป ซึ่งอาการเหล่านั้นอาจจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของการรักษาครั้งถัดไปของ EMDR การคอยบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นการสร้างกระบวนการคิดที่ทำให้ห่างจากปัญหา
  • เนื่องจากบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นอาจจะเชื่อมโยงกันผ่านเครือข่ายความจำ ดังนั้นการ reprocessing ของแต่ละเหตุการณ์อาจกระตุ้นให้มีการ reprocessing ของความจำที่เชื่อมโยงกันด้วย ทำให้อาการอื่นลดลงตามไปด้วย หรืออาจทำให้ความจำอื่นผลุดขึ้นมา เกิดเป็นอาการได้
  • การให้ความรู้เรื่องทักษะการจัดการกับอาการที่ไม่ต้องการและการให้ความรู้เรื่องกระบวนการบำบัดมีความสำคัญ เนื่องจาก client อาจเกิดอาการหลังการบำบัดแต่ละครั้ง ซึ่ง client จะไม่ได้มาพบเราจนกว่านัดครั้งถัดไป ดังนั้นในระหว่างนั้นเขาจะต้องไม่ตกใจว่าทำไม่บำบัดแล้วอาการบางอย่างกลับเกิดขึ้นมา และเขาสามารถจัดการกับอาการเหล่านั้นได้ด้วยเครื่องมือที่เราสอนไว้ (เช่น container , safe place)
8. การประเมินอีกครั้ง ( Reevaluation )
  • ในแต่ละครั้งที่ทำการบำบัด เป้าหมายเดิมที่เคยบำบัดแล้วจะได้รับการประเมินอีกครั้งว่าผลการบำบัดที่ทำไปแล้วยังได้ผลอยู่หรือไม่ แบบบันทึกที่ทำไว้จะได้รับการทบทวน ถ้าอาการใดกลับมีขึ้นมาอีกจะได้รับการบำบัดเพิ่ม
  • ในฐานะผู้บำบัด เราจะต้องดูและเรื่องอื่นที่ client ยังคงความกังวลที่หลงเหลือในจิตใจ ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือปัญหาในสิ่งแวดล้อมอื่น เช่นในกรณีได้รับค่าชดเชยแล้ว client อาจไม่ยอมหายป่วย หรือ client ได้รับการเสริมแรงที่มำให้ไม่หาย

แนวคิดการบำบัดของ EMDR

เรียบเรียงจากหนังสือ EMDR Scripted Protocol

แกนหลักของแนวคิดการบำบัดของ EMDR คือ Adaptive Information processing Model ( AIP ) โดย AIP เชื่อว่าบุคคลมีศักยภาพตั้งแต่กำเนิดที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การมีสุขภาพที่ดีและสมบูรณ์ (health and wholeness ) บุคคลเมื่อมีประสบการณ์ใหม่เกิดขึ้นจะทำการประมวลผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น แยกเป็นองค์ประกอบต่างๆ เช่นภาพเสียงความรู้สึกสัมผัส (Sensory modality ต่างๆ ) ความคิด อารมณ์ การสัมพันธ์กับเวลา โดยองค์ประกอบเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บในสมองส่วนต่างๆอย่างถูกต้อง บุคคลจะสามารถเห็นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของอารมณ์และความคิด และสามารถเป็นที่ควบคุมการใช้ความจำเหล่านี้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม (adaptive learning) ซึ่งทำให้ความจำใหม่และความทรงจำเก่านั้นเกิดการเชื่อมโยง บุคคลจะมีการความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสม

แต่เมื่อใดก็ตามบุคคลไม่สามารถประมวลผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (โดยไม่นับการที่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือการขาดข้อมูลข่าวสาร) เช่น การประสบเหตุภัยพิบัติอย่างรุนแรง ในขณะนั้นบุคคลจะใช้ศักยภาพทั้งหมดเพื่อการมีชีวิตรอด (ศักยภาพทั้งมวลนั้นหมายถึงศักยภาพทางจิตใจด้วย ) ประสบการณ์ใหม่ที่เกิดขี้น จะถูกเก็บไว้ในเครือข่ายความทรงทั้งก้อนในลักษณะของข้อมูลดิบ โดยความจำใหม่นี้จะอยู่ในเครือข่ายที่ไม่เชื่อมโยงกับเครือข่ายการเรียนรู้ปกติ และบุคคลไม่สามารถควบคุมได้ดี (ในบุคคลบางคน ถ้าหลังจากประสบภัยแล้ว บุคคลนั้นสามารถกลับเข้าสู่สมดุลได้อีกครั้ง ความทรงจำนี้จะถูกนำกลับมาประมวลและนำเข้าสู่เครือข่ายความจำปกติ ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ขึ้น – adaptive learning) ดังนั้นเมือใดที่มีปัจจัยที่เหมาะสมมากระตุ้น จะทำให้ประสบการณ์ที่ถูกเก็บไว้นั้นโผล่ออกมาทั้งก้อน ซึ่งประสบการณ์นั้นจะออกมาในลักษณะของข้อมูลดิบที่ไม่ได้ประมวลผล ดังนั้น บุคคลจะเหมือนกลับไปที่เวลานั้นอีก (re-experience ) มีภาพ เสียง ความรู้สึกสัมผัสทางร่างกาย มีอารมณ์ตอบสนองอย่างรุนแรง โดยไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าความจำนั้นมีผลกระทบที่แรงพอก็จะเป็นอาการของ PTSD ถ้าไม่รุนแรงมากอาจจะเป็นเพียงความรู้สึกวิตกกังวลที่ไม่สมเหตุสมผลกับเหตุการณ์นั้น

เป้าหมายของ EMDR การบำบัดนั้นเพื่อนำความจำที่ถูกแช่แข็งมาประมวล ( unfreeze dysfunctionally stored memories) ให้ความจำนั้นสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสารอื่นๆในสมอง ซึ่งจะให้เราสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมต่อไป ดังนั้น EMDR สามารถใช้ได้กับโรคทางจิตเวชหลายอย่างที่สามารถอธิบายได้ด้วย model นี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเฉพาะ PTSD

ดัดแปลงจากเอกสาร Clifton R. Hudson, Ph.D.
เราสามารถสรุป Adaptive Information Processing Model ได้ดังนี้
  • มนุษย์มีความสามารถภายในที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดที่สามารถประมวลประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม (adaptive learning)
  • ความทรงจำในสมองนั้นจะเก็บในลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย โดยเชื่อโยงความจำใหม่และความทรงจำที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงอารมณ์ที่สัมพันธ์กับความคิดด้วย
  • เครือข่ายเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่าง ความคิด ภาพ อารมณ์และการรู้สัมผัส ( thoughts, images, emotions, and sensations).
  • ถ้าประสบการณ์ traumatic ไม่ได้รับการประมวลเนื่องจากถูกขัดขวาง (เช่นจากการมีข้อมูลข่าวสารท่วมท้นในขณะมีประสบการณ์ ) ความคิด ภาพ อารมณ์และการรู้สัมผัสจะยังคงอยู่ในรูปของข้อมูลดิบและเป็นสิ่งตั้งต้นของตอบสนองที่ไม่เหมาะสมหรือผิดปกติในเวลาต่อมาเมื่อบุคคลนั้นได้รับการกระตุ้น
  • สมมุติฐานของ EMDR คือ กระบวนการใน EMDR สามารถช่วยเหลือ client ได้โดยการประมวลผลความทรงจำที่ผิดปกติเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในเครือข่ายข้อมูลปกติของสมอง
  • การประมวลผลความจำที่ถูกเก็บในรูปข้อมูลดิบ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ การตอบสนองจะมีความเหมาะสมขึ้น

การบำบัดนั้นจะมีการทำให้ผป. อยู่ในภาวะ stable เสียก่อน เมื่อพร้อมจึงจะทำการบำบัดโดยนัดเป็น session โดยแต่ละ session นั้นจะเลือก target เพียงหนึ่ง target มาทำการบำบัด (ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งเหตุการณ์อาจะทำให้เกิดหลาย target ได้ ) และโดยปกติหลังจบแต่ละ session จะต้องทำให้ target ที่เป็น negative นั้นหายไปและเกิด positive ขึ้นมาแทนที่ โดย client จะต้องเชื่อความคิดเชิงบวกใหม่นั้นจริงๆ (ตรวจสอบการเชื่อใหม่นั้นโดย VOC Scale – Valid Of Cognition scale ) และการรบกวนที่เกิดขึ้นจาก target นั้นจะต้องหายไป ซึ่งจะตรวจสอบโดย SUD scale.(Subjective Unit of Disturbance scale)

Acceptance and commitment therapy ( ACT )

เรียบเรียงจาก ???????????????????
ACT เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับปัญหาหลายรูปแบบ กระบวนหลักประกอบด้วยการปรับพฤติกรรม การฝึกสติ และการยอมรับ (acceptance process) กระบวนการอื่นสามารถเสริมขึ้นมาตามลักษณะของ client เช่นอาจมี psycho-education , การฝึกทักษะ , การปัญหา การ exposure
แนวคิดหลักของ ACT คือ client จะพยายามหลีกเลี่ยงกับประสบการณ์ภายในเชิงลบ เช่น ความรู้สึก การรับรู้ การคิด ความอยาก โดยจะพยายามหลีกเลี่ยง หลบหรือกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไป แม้ว่าจะเป็นทางที่ทำให้เกิดผลเสียตามมา ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบเห็นได้ เช่น การใช้ยาเสพติด การหลักเลี่ยงสังคม ความอ้วน การเกิด dissociation และยังพบว่าการที่เราพยายามกดเก็บอารมณ์และความคิดกลับทำให้เราต้องประสบกับสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น
กระบวนการบำบัดคือการที่ให้เราได้ประสบการณ์เหล่านั้นในปัจจุบัน แบบเต็มใจ ยอมรับ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้การมีสติเข้ามา การฝึกสติใน ACT นั้นมีวิธีการที่หลากหลายมาก แต่กระบวนการสำคัญประกอบด้วย
๑. การยอมรับและการแยกตัวจากความคิด (Acceptance and Cognitive defusion)
การยอมรับ (acceptance )เป็นกระบวนที่ยอมรับความคิด อารมณ์ ความรู้สึก โดยไม่ตัดสิน เป็น จะไม่พยายามไปควบคุม ซึ่งพบว่าการพยายามควบคุมจะทำให้เกิดผลตรงข้าม(paradox effect) คือเกิดความคิดและอารมณ์นั้นมากขึ้น จะพยามให้รู้ในสิ่งที่เคยหลีกเลี่ยง เช่น ความวิตกกังวล มีเหงื่ออก ใจเต้นเร็ว
การแยกตัวออกจากความคิด ( Cognitive defusion ) เป็นการสอนสังเกตความคิดและกระบวนการคิดโดยไม้คิดว่าความคิดนั้นจริง หรือสำคัญ ซึ่งเมื่อมีการสังเกตแล้วจะทำให้ผลของความคิดต่อพฤติกรรมนั้นจะลอลง โดยจะพบว่าความคิดเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อหรือเป็นจริง กระบวนการนี้คล้ายกับ cognitive therapy แบบเดิมที่สังเกต ติดตาม และมองว่าความคิดเป็นสมมุติฐานที่ต้องการการทดสอบ แต่การแยกตัวออกจากความคิด นั้นจะไม่มีกระบวนการไป วิเคราะห์ พิสูจน์ หรือเปลี่ยนแปลงความคิดเหล่านั้น ใน ACT จะมีการฝึกมากมายเช่น การฝึกใบไม้ไหลตามน้ำ จะให้ผู้ฝึกหลับตาและจินตนาการว่าหยิบเอาความคิดที่เกิดนำมาใส่ในใบไม้วางบนแม่น้ำและปล่อยให้ไหลจนหายไปตาม หรือ กองทหารเดินพาเหรด โดยให้จินตนาการว่าความคิดคือป้ายที่ทหารเดินถือและค่อยๆจากไป วัตถุประสงค์ของ defusion ก็เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมแม้มีความคิดที่ไม่ต้องการ โดยปล่อยให้ความคิดที่ไม่ต้องการมาและจากไปเอง
๒. การอยู่กับปัจจุบันและ self as context
ACT จะใช้การฝึกสติในการให้สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และบรรยายสิ่งนั้นโดยปราศจากการตัดสินหรือประเมินแม้ว่าจะเป็นความรู้สึกที่ไม่ดี อุปสรรคที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงและการหลอมตัวเข้ากับความคิดนั้น (avoidance and cognitive fusion) ให้แยกตัวตนออกจาก ความคิด แรมณ์และความรู้สึก ตัวอย่างเช่น เมื่อมีความคิดว่า ”ฉันเป็นคนโง่” ให้สอนตนเองให้พูดว่า “ฉันคิดว่าฉันเป็นคนโง่” การเพิ่มคำว่า“ฉันคิดว่า” จะเกิดการแยกระหว่างตัวตนกับความคิดออกจากกัน และพบว่าตนเองสามารถมีความคิดหรืออารมณ์หลากหลายโดยไม่เป็นอันตราย ในบางครั้งจะให้ฝึกจินตนาการเป็นเหมือนมีผู้สังเกตการณ์อีกคนหนึ่งที่คอยมอง ประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น (รูป นาม) หลายคนจะพบประสบการณ์ว่า ตัวตนที่เป็นผู้สังเกตนั้นดำรงอยู่และประสบการณ์ต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป (เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป – ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนันตา) ซึ่งในกรณีนี้อาจเรียกว่ามี
๓. คุณค่าและการกระทำไปตามความตั้งใจ(Values and committed Action)
ACT ต่างจากแนวทางอื่นโดยให้ความสำคัญกับเรื่อง คุณค่าและเป้าหมายของชีวิต ซึ่งสะท้อนไปสู่พฤติกรรมที่ทำให้สามรรถเดินไปสู่เป้าหมายของชีวิต จะมีกิจกรรมที่พูดถึงเป้าและคุณค่าเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ ความสัมพันธ์ การพัฒนาคุณค่าชีวิต สุขภาพ เช่นอาจจะถามว่าเมื่อตายอยากให้คนพูดถึงเขาว่าอย่างไร ซึ่งเป้าเหล่านั้นทำให้เราสามารถนำไปสู่การกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการนำไปสู่เป้าเหล่านั้น และพิจารณาอุปสรราคที่มีอยู่และวิธีการจัดการอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งพบว่ามักจะเป็นประเด็นเรื่องจิตใจ เช่น ความวิตกกัวงล ความเศร้า ความไม่เชื่อมั่นตนเอง ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มี chronic pain และกลัวความเจ็บป่วยมากจนตัดขาดจากสังคม ไม่ยอมดูแลลูก เมื่อพูดถึงเป้าหมายในชีวิต อยากให้ลูกพูดถึงตนเองในแง่เป็นแม่ที่ดี อยากเรียนให้จบตามที่หวัง เมื่อพิจารณาพฤติกรรมที่ต้องการคือการลุกจากเตียงออกมาต่อทำกิจกรรมประจำวัน การพบปะผู้คน การพยายามออกมาเรียน สิ่งที่เป็นอุปสรรคคือความกลัวที่จะปวด เมื่อได้จัดความกลัวที่ไม่สมเหตุผลแล้ว ในท้ายที่สุด เธอก็สามารถออกมาดูแลลูกได้ ออกมาเรียนหนังสือต่อได้ โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยวัด physical scale pain เท่าเดิม แต่ psychological และ social pain ลดลง คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Mindfuness-base cognitive therapy ( MBCT)

เรียบเรียงจาก ???????????????????????

MBCT นั้นอ้างอิงกระบวนการมาจาก MBSR เป็นส่วนใหญ่ โดยเริ่มต้นพัฒนามาเพื่อใช้ป้องกันการ เกิดซ้ำของโรคซึมเศร้า (relapse of major depression) โดยจะเป็นกระบวนการ ๘ session โดยใช้เวลา session ละ ๒ ชั่วโมง แต่ไม่มี session ที่ฝึกทั้งวัน กระบวนการฝึกที่มีเพิ่มขึ้นคือ

  1. การฝึกสังเกตลมหายใจ ๓ นาที ซึ่งในช่วงที่ฝึกสังเกตลมหายใจนั้นกระทำเพื่อให้หลุดจากความคิดแบบอัตโนมัติ จะพิจารณาและให้ผู้ปฎิบัติถามตนเองว่า “ฉันรู้สึกอย่างไรในขณะนี้” (What is my experience right now ? ) และสังเกต ความรู้สึกของร่างกาย ความคิด อารมณ์ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน รับรู้ประสบการณ์เหล่านั้นโดยไม่พยายามปฎิเสธหรือพยายามทำให้หมดไป
    การฝึกนี้จะเริ่มทำใน session ๓ เป็นต้นไป และพยายามให้ฝึกวันละหลายๆครั้ง โดยในช่วงเริ่มต้นจะกำหนดตารางเวลาที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงหลังจะให้ฝึกทุกครั้งที่รู้สึกเครียดหรือไม่สบายใจ ในขณะที่ฝึกหายใจผู้ฝึกอาจจะรู้สึกผ่อนคลายแต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการรู้กระบวนการคิดที่ดำเนินไปอย่างอัตโนมัติกับการหยุดแบบมีสติ และมีทางเลือก (การฝึกลมหายใจ ถ้าไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียวโดยไม่สังเกตประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจะผ่อนคลายและเข้าสู่กระบวนการสมาธิที่ไม่เกิดปัญญาทางสติ - อธิบายตามการฝึกสติที่ได้จากการปฏิบัติมา)
  2. การดึงเอาประสบการณ์ที่ไม่ชอบหรือไม่พอใจขึ้นมา ให้สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของร่างกายและจิตใจ โดยไม่พยายามหลบหนีหรือขัดขวาง ยอมรับด้วยความเมตตา กรุณา (willingness , openness and a gentle , kindly , friendly awareness ) การฝึกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฝึกไม่ต้องพยายามหลบเลี่ยงจากความรู้สึกที่ไม่ดี (avoidance) ผู้ฝึกมักจะพบว่าตนเองนั้นจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับประสบการณ์ทางลบด้วยความก้าวร้าว แทนความอ่อนโยน การฝึกนี้จะทำด้วยความลำบากซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากครูผู้ฝึกสอน
  3. การทำ cognitive therapy ในการฝึกนี้ไม่ใช่การบำบัดในรูปแบบ cognitive therapy แบบดั่งเดิมที่พยายามไปเปลี่ยนประบวนการคิด (การค้นหาความคิดที่ไม่ถูกต้อง การหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความคิดนั้น หรือการพัฒนาความคิดที่มีเหตุผล) แต่เป็นการทำเพื่อให้เกิดกระบวนการ decentered ของประสบการณ์ภายใน เช่น
  • ก. การฝึกความคิดและอารมณ์ จะเริ่มใน session ๒ จะให้ผู้ฝึกหลับตาและจินตนาการเหตุการณ์ว่าเดินอยู่และพบเพื่อนเดินผ่านมา ตนเองยิ้ม โบกมือ และส่งเสียงเรียก เพื่อนเดินผ่านไปเหมือนไม่เห็น แล้วให้อธิบายความคิด ความรู้สึก แลอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้รูปแบบของ ABC โดย A คือสถานการณ์ B คือ ความคิด และ C คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกได้เรียนรู้เรื่องของ ความคิดไม่จำเป็นต้องเป็นความจริง (thoughts are not fact) และเรามักจะไม่ค่อยรู้ว่ามี B แม้ว่าจะรู้ว่ามี B แต่มักไม่สามารถหยุดกระบวนการนั้นได้ทัน การฝึกสติจะทำให้กระบวนการเหล่านี้ชัดเจนยิ่งขี้น
  • ข. การอภิปรายในเรื่องการคิดอย่างอัตโนมัติ (automatic thought ) จะเริ่มใน session ๔ โดยจะอภิปรายในประเด็นความคิดที่สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้า ตัวอย่างเช่น ฉันเป็นคนไม่ดี ชีวิตฉันแย่ โดยให้ยอมรับว่าความคิดเหล่านี้เป็นอาการของโรคซึมเศร้าแต่ไม่ใช่ตัวตนของเขา การเชื่อความคิดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงจังหวะของโรคไม่คงอยู่ตลอดไป
  • ค. การฝึก อารมณ์ ความคิดและมุมมองอื่น จะทำใน session ๖ โดยจะสมมุติสถานการณ์ว่าเพิ่มทะเลาะกับเพื่อนที่ทำงานมา ขณะเดินกลับบ้านพบเพื่อนคนที่ ๒ เดินผ่านมาเมื่อทักเพื่อนบอกว่ารีบไม่มีเวลาคุย ขียนความคิดที่เกิดขึ้น ให้สมมุติสถานการณ์ใหม่ว่าเพิ่งได้รับการยกย่องจากที่ทำงานว่าทำงานได้ดี และมาพบเพื่อนที่รีบไม่มีเวลาคุยด้วย เขียนความคิดที่เกิดขึ้น นำมาเปรียบเทียบกับความคิดที่หนึ่ง ซึ่งมักจะพบว่าความคิดที่ ๑ คิดว่าเพื่อนอยากจะหลีกเลี่ยงเรา ส่วนความคิดที่สองจะเชื่อว่าเขารีบจริงและอาจจะเป็นห่วงเขาด้วย จากการฝึกจะทำให้พบว่าความคิดมีผลกับความรู้สึก และความรู้สึกจะมีผลกับความคิด ดังนั้นความคิดจึงไม่จำเป็นต้องเป็นความจริง แต่เรามักจะเชื่อว่าความคิดคือความจริง
  • ง. กิจกรรมที่มีความสุขและกิจกรรมที่เรามั่นใจว่าทำได้ การฝึกนี้จะทำใน session ๗ โดยมีแนวคิดว่ากิจกรรมบางอย่างสามารถที่จะป้องกันอาการซึมเศร้าได้ โดยมีกิจกรรม ๒ กลุ่มคือ ๑. กิจกรรมที่เราชอบและมีความสุข เช่น การได้คุยกับเพื่อนสนิท การได้ดูภาพยนตร์ ๒. กิจกรรมที่เรามั่นใจ เช่นการการทำกับข้าว การปลูกต้นไม้ การซื้อของ โดยจะให้ทำรายชื่อกิจกรรมเหล่านี้ไว้ และให้ทำกิจกรรมเหล่านี้เมื่อพบว่ามีอารมณ์แย่
  • จ. การวางแผนป้องกันการเกิดซ้ำ จะทำใน ๒ session สุดท้าย โดยจะนำเอาทักษะทั้งหมดที่ฝึกได้มาใช้ โดยจะเริ่มจากการให้ทำรายการอะไรสิ่งบอกเหตุ(relapse signature )ว่าจะเกิดอาการซึมเศร้า ขึ้นมา ที่พบบ่อยเช่น หงุดหงิด แรงจูงใจหมด แยกตัว เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และให้คิดว่าจะจัดการกับอาการเหล่านี้อย่างไรบ้าง เช่น การฝึการหายใจ การพยายามเข้ากลุ่มเพื่อมาฝึกสติใหม่ การเลือกกิจกรรมที่เคยทำรายการไว้
คุณสมบัติของครูที่สามารถนำกลุ่ม MBCT

ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติไว้มากเท่ากับ MBSR แต่ควรต้องผ่านการฝึกการให้คำปรึกษา หรือการทำจิตบำบัด และเคยเป็นผู้ทำกิจกรรมกลุ่มมาก่อน นอกจากนี้ควรจะทำการฝึกสติอยู่อย่างสม่ำเสมอ

Mindfuness-base stress reduction ( MBSR )

เรียบเรียงจากหนัีงสือ ?????????????????????????

พัฒนาโดย Jon Kabat-Zinn, ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Medical Center ในปีค.ศ.1979 เพื่อใช้ช่วยเหลือผู้ป่วย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้บำบัดผู้ป่วยประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน มีศูนย์บำบัดมากกว่า ๒๐๐ แห่งทั่วโลก ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา การปวดเรื้อรัง มะเร็ง เอดส์ และอื่นๆ โดยใช้เวลาบำบัด ๘ สัปดาห์ พบกัน ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา ๒.๕ ถึง ๓ ชั่งโมง และในช่วงสัปดาห์ที่ ๖ จะมีกิจกรรมเต็มวันหนึ่งครั้ง โดยจะบำบัดเป็นกลุ่มประมาณกลุ่มละ ๓๐ คนโดยจะเป็นบุคคลที่มีปัญหาต่างๆกัน แต่ในบางที่อาจจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเช่นกลุ่มที่เป็นโรคมะเร็ง
ในการบำบัดแนวทางนี้จะมีการบ้านที่ต้องไปฝึกต่อ โดยฝึกตามที่กำหนด ๔๕ นาทีต่อวันในช่วง ๖ วันที่ไม่ได้มาร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องความเครียดในเชิงการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด การรับรู้ต่อสิ่งเร้าและการที่เราสามารถที่จะเลือกตอบสนอง ซึ่งการให้ความรู้เหล่านี้จะสอดแทรกในกิจกรรมของกลุ่มที่พบกันใน ๘ session นั้นจะมีกิจกรรมหลักคือ
  1. การฝึกสติโดยใช้การพิจารณาลูกเกด ซึ่งจะเป็นกิจกรรมใน session ที่หนึ่งโดยให้พิจารณาเริ่มจากรูปร่าง สี ลักษณะโครงสร้าง การสัมผัส กลิ่น หลังจากพิจารณาแล้วขั้นที่ สองจึงจะใส่เข้าปาก และสังเกตความรู้สึกที่เกิด ทั้งการรับรู้รูปร่างและรส หลังจากพิจารณาแล้วจึงจะกัดและรับรู้รส ในการฝึกนี้ทำให้ผู้ฝึกได้รับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช้กระบวนการคิดแบบอัตโนมัติ แต่เป็นการทำให้กระบวนการต่างๆช้าลงจนสัมผัสความคิดได้ เป็นประสบการณ์ใหม่ที่บางคนอาจไม่เคยพบมาก่อน ในระหว่างที่สังเกตถ้ามีความคิด อารมณ์ ความรู้สึกไปเรื่องอื่น ให้รับรู้และนำความสนใจกลับมาที่การฝึก เมื่อจบ session ที่ ๑ แล้วจะให้สมาชิกกลับไปฝึกการรับประทานอาหารอย่างมีสติในอีก ๖ วันที่เหลือ การฝึกเช่นนี้จนชำนาญจะทำให้เกิดความตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เรามีโอกาสเลือกที่จะทำ ที่จะคิด ไม่เป็นไปอย่างอัตโนมัติเหมือนที่ผ่านมา
  2. การฝึก body scan ให้นั่งหรือนอนกับพื้นในท่าที่สบาย และให้สังเกตร่างกายทีละส่วน โดยไม่พยามยามไปเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอยู่ อาจจะเริ่มจากหัวแม่เท้าไปจบที่ศีรษะ การฝึกนี้จะสังเกตว่าไม่เหมือนการฝึก progressive muscle relaxation โดยผู้ฝึกจะเป็นผู้สังเกตไม่ใช่ผู้ที่ลงไปเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นทางร่างกาย(? กายยา) การฝึกเช่นนี้จะทำใน session ที่ ๑ ๒ และ ๘ โดยจะต้องฝึกเองที่บ้านในช่วง ๔ อาทิตย์แรก ซึ่งจะมีเทปพูดนำให้ฝึกตาม
  3. ในระหว่างฝึกให้เช่นเดียวกับการฝึกลูกเกด ถ้ามีความคิด ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นก็ให้สังเกตและรับรู้ นอกจากนี้จะพบอุปสรรคการง่วงนอน หรือรำคาญ ก็ให้สังเกตเอาไว้ การเกิดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บอกว่าทำไม่สำเร็จ หรือเป็นสิ่งไม่ดี แต่เป็นสิ่งที่จะได้รู้
  4. การนั่งสมาธิ โดยนั่งในท่าที่สบาย (ไม่จำเป็นต้องนั่งท่าสมาธิ) และให้สังเกตลมหายใจที่เข้าออก จะพบปรากฎการณ์เหมือนในการฝึกลูกเกดและ body scan ก็ให้เป็นผู้สังเกตเช่นเดิม แต่ในช่วงนี้การนั่งสมาธิจะเพิ่มกิจกรรมให้สังเกตความเมื่อยล้าที่เกิด ความคิดที่เป็นจากความเมื่อยล้า และให้สังเกตสิ่งแวดล้อมเช่น เสียง โดยสังเกตรายละเอียด ความดัง ความถี่ คุณภาพเสียงอื่นๆ โดยไม่ตัดสิน หรือวิเคราะห์ แล้วนำความสนใจกลับมาที่ลมหายใจ การนั่งสมาธิจะใช้ใน session ที่ ๒ ถึง ๗ โดยเพิ่มเวลาจาก ๑๐ จนเป็น ๔๕ นาที และมีการกำหนดเป็นการบ้านเกือบทุกสัปดาห์ ซึ่งจะมีเทปเปิดนำให้ปฎิบัติตาม
  5. การฝึกโยคะ (Hatha Yoga) โดยเป็นการฝึกเพื่อรับรู้ร่างกายส่วนต่างๆ และระหว่างการเคลื่อนไหว โดยเน้นให้เกิดการฝึกสติ ไม่ใช่การฝึกออกกำลังกาย เป็นโอกาสที่ทำให้เราได้รู้จักร่างกายว่าเป็นอย่างไร มีข้อจำกัดอย่างไร ในผู้ที่ฝึกโยคะบางคนได้เกิดการรับรู้ร่างกายว่ามีอยู่ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยสังเกต หลายคนจะชอบมากกว่าการทำ body scan หรือ การนั่งสมาธิ โดยจะทำโยคะใน session ที่ ๓ และจะให้ทำเป็นการบ้านในสัปดาห์ที่ ๓ ถึง ๖ โดยมีเทปเปิดนำให้ปฎิบัติตาม
  6. การเดินจงกรม โดยจะพยายามให้มีการนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน
  7. การมีสติอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน การฝึกในกิจกรรมอื่นจะทำให้การฝึกการมีสติเสมอทำได้ดีขึ้น และทำให้เกิดการตระหนักรู้ (self-awareness) ในอารมณ์ ความคิดที่เกิดขึ้น ทำให้สามารถที่จะเลือกตัดใจได้ดีขึ้น โดยการฝึกนี้จะเริ่มในสัปดาห์ที่ ๒ ให้สังเกตช่วงที่มีความสุข ๑ ครั้งต่อวันโดยจะบันทึกรายละเอียดเรื่องความคิดอารมณ์ และความรู้สึก ในสัปดาห์ที่ ๓ จะเริ่มฝึกความรู้สึกที่ไม่มีความสุข นอกจากนี้จะให้มีการฝึกสังเกตลมหายใจเมื่อมีโอกาส
  8. การสนทนาเรื่องการปฎิบัติ (การสอบอารมณ์) จะทำทุกอาทิตย์เพื่อดูประสบการณ์ที่ได้รับ ปัญหาอุปสรรค์ ซึ่งผู้นำกลุ่มจะได้อธิบายให้ทราบถึงธรรมชาติของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะเป็นปัญหาเรื่องความคิด อารมณ์ต่างๆที่มารบกวน ซึ่งผู้นำกลุ่มจะให้ผู้ฝึกดำรงการเป็นผู้สังเกตต่อไป อย่าพยายามไปเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้น ให้สนใจการปฎิบัติต่อไป บรรยากาสในการสนทนานั้นจะต้องเป็นการก่อให้เกิดการยอมรับและทำให้เกิดความต้องการค้นหาต่อไป
  9. การฝึกตลอดวัน จะทำในสัปดาห์ที่ ๖ จะเป็นการฝึกนั่งสมาธิ เดินจงกรม การทำ body scan การทำโยคะสลับกันไปทั้งวัน โดยจะพยายามไม่ให้มีการพูดเกิดขึ้น เมื่อสิ้นวันจะมีการพูกคุยประสบการณ์ที่ได้รับ
  10. การใช้โคลงกลอน จะมีการอ่านโคลงกลอนในแต่ละ session ซึ่งจะเป็นโคลงกลอนที่สัมพันธ์กับการฝึกสติ ในบางครั้อาจจะเปลี่ยนเป็นนิทานที่ทำให้ได้คิดถึงเรื่องสติ
  11. การบ้าน จะมีสองส่วนคือการฝึกสมาธิ ๔๕ นาที และการมีสติในชีวิตประจำวัน(informal mindfulness )อีก ๑๕ นาที
คุณสมบัติของครูที่สามารถนำกลุ่ม MBSR

  1. อย่างน้อยปริญญาโททางด้านสุขภาพจิต
  2. ฝึกสมาธิทุกวัน โดยถือเป็นวิถีการดำรงค์ชีวิต
  3. เข้าโปรแกรมการฝึกสมาธิ ๕ ถึง ๑๐ วันในแบบของนิกายเถรวาท(Theravadan) หรือ นิกายเซน อย่างน้อย ๒ ครั้ง
  4. มีประสบการณ์ในการฝึกโยคะอย่างน้อย ๓ ปี หรือการฝึก body-center disciplines
  5. มีประสบการณ์ ๒ ปีในการฝึกการจัดการความเครียด และโยคะหรือ body-center disciplines
  6. ผ่านการฝึก Professional program สำหรับ MBSR
  7. นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการแปลงประสบการณ์ที่มีเป็นการสอนได้ และมีทัศนคติที่ดีต่อการช่วยผู้อื่น

การบำบัดโดยใช้แนวคิดเรื่องสติ ( Mindfulness base treatment)

งานสุขภาพจิตของทางตะวันตกได้นำเอาหลักการสติ( Mindfulness ) ไปปรับใช้ในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต หรือในการพัฒนาสุขภาพจิต โดยนำเอาเฉพาะหลักการแนวคิดของสติไปใช้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา และพบว่าสามารถที่จะทำให้บุคคลที่ได้รับการช่วยเหลือสามารถบรรเทาหรือพ้นจากปัญหาทางสุขภาพจิตได้ (ทุกข์ - ) โดยแนวทางเรื่องสติได้ถูกนำไปใช้หลังจากแนวทางสมาธิ( concentration-based meditation ) ได้ถูกนำไปใช้ในโลกตะวันตกนาน โดยข้อสำคัญที่แยกสมาธิออกจากสติคือการที่สมาธิจะให้ความสนใจไปยังสิ่งๆเดียว เช่น การหายใจ หรือคำพูดบางคำ เช่น matra ใน Transcendental Meditation ส่วนแนวทางสตินั้นจะต้องคอยติดตามรูปและนามที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งก็เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธที่ สมาธินั้นเกิดขึ้นก่อนพุทธกาล สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบใหม่คือสติ

บุคลากรทางสุขภาพจิตทางตะวันตกมองว่าการมีสติคือการตั้งใจที่จะให้เกิดความสนใจกับประสบการณ์ที่เกิดในปัจจุบัน โดยไม่ไปตัดสินหรือยอมรับ (intentionally focusing one’s attention on the experience occurring at the present moment in a nonjudgmental or accepting way Kabat-Zinn , 1990 อ้างใน Mindfulness-Based Treatment Approaches) ซึ่งในทางพุทธศาสนาได้ให้ความหมายของสติไว้หลายอย่าง เช่น ความระลึกรู้ นึกได้ ความไม่เผลอ การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง จำการที่ทำหรือคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระธรรมปิฎก) หรือ ความระลึกได้ถึงความปรากฏของรูปนาม สติเป็นอนัตตาเช่นเดียวกับธรรมทั้งปวง ดังนั้นไม่มีใครที่จะสั่งหรือจงใจให้เกิดสติเกิดขึ้นได้ เว้นเสียแต่จะมีเหตุที่สมควร สติจึงจะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามให้เกิด เหตุให้เกิดสติได้แก่การที่จิตรู้จักและจดจำสภาวะของรูปนามได้แม่นยำ เพราะได้เจริญสติปัฎฐานหรือตามสภาวะของ กาย เวทนา จิต หรือธรรมเนืองๆ (ทางเอก พระประโมทย์ ปาโมชโช ) โดยจะเห็นว่ามีมุมมองที่เหมือนกัน เช่น การอยู่ในปัจจุบัน การเป็นผู้สังเกตการณ์ไม่ใช้ผู้เข้าไปมีส่วนร่วม แต่ก็มีมุมมองที่ต่างกัน เช่นในประเด็นความตั้งใจทำให้เกิด

ในทางตะวันตกได้นำหลักการของสติไปประยุกต์ใช้ โดยมีแนวทางการช่วยเหลือที่ได้รับการยอมรับค่อนข้างมากอยู่ ๔ แนวทางคือ
๑. Mindfuness-base stress reduction ( MBSR )
๒. Mindfuness-base cognitive therapy ( MBCT)
๓. dialectical behavior therapy( DBT )
๔. acceptance and commitment therapy ( ACT )

โดยความต่างกันของทั้ง ๔ วิธีจะเห็นวิธีการที่สอนให้เกิดความตระหนักรู้ในสติ (mindful awareness) บางวิธีจะต้องมีการนั่งเพื่อให้สติอย่างเป็นแบบแผน บางวิธีจะเน้นการมีสติในชีวิตประจำวัน เช่นขณะรับประทานอาหาร หรือ ล้างจาน บางวิธีจะฝึกทั้งสองอย่าง แต่ทุกวิธีจะใช้แนวสติ โดยให้สังเกตการณ์เกิดของความคิด ความจำ อารมณ์ที่เกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้นก็ให้เกิดความตระหนักรู้ว่าได้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น (การเกิดของรูปนาม - ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน) โดยผู้ฝึกจะอยู่ในบทบาทของผู้สังเกตการณ์ไม่ใช่ผู้ลงไปยุ่งเกี่ยว นอกจากนี้ยังสังเกตการณ์เมื่อยล้าของร่างกายที่เกิดขึ้น (เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน) และให้ใช้คำพูดบ่งถึงที่รู้สั้นๆเช่น ปวด เมื่อย หรือเรื่องอารมณ์ เช่น เสียใจ ในบางแนวทางก็จะให้สังเกตสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเช่น เสียง กลิ่น โดยการสังเกตทั้งหมดจะไม่ทำการตัดสิน ตำหนิตนเอง ตีความ ปล่อยให้เกิดขึ้นเองโดยการรู้ เช่นจะไม่พยายามประเมินความคิดว่ามีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล ไม่พยายามไปเปลี่ยนความคิดหรือความรู้สึก ไม่พยายามไปลดความรู้สึกที่ไม่ดี โดยผู้ฝึกจะเป็นเพียงผู้สังเกต ความคิด ( cognition ) ความจำ ( memory ) ความรู้สึก ( sensation ) และอารมณ์ (emotion) (Mindfulness-Based Treatment Approaches)
Note :- แนวทางดังกล่าวข้างต้นซึ่งเรียกว่า Mindfulness-Based นั้นจะเรียกว่า third wave CBT