MBCT นั้นอ้างอิงกระบวนการมาจาก MBSR เป็นส่วนใหญ่ โดยเริ่มต้นพัฒนามาเพื่อใช้ป้องกันการ เกิดซ้ำของโรคซึมเศร้า (relapse of major depression) โดยจะเป็นกระบวนการ ๘ session โดยใช้เวลา session ละ ๒ ชั่วโมง แต่ไม่มี session ที่ฝึกทั้งวัน กระบวนการฝึกที่มีเพิ่มขึ้นคือ
- การฝึกสังเกตลมหายใจ ๓ นาที ซึ่งในช่วงที่ฝึกสังเกตลมหายใจนั้นกระทำเพื่อให้หลุดจากความคิดแบบอัตโนมัติ จะพิจารณาและให้ผู้ปฎิบัติถามตนเองว่า “ฉันรู้สึกอย่างไรในขณะนี้” (What is my experience right now ? ) และสังเกต ความรู้สึกของร่างกาย ความคิด อารมณ์ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน รับรู้ประสบการณ์เหล่านั้นโดยไม่พยายามปฎิเสธหรือพยายามทำให้หมดไป การฝึกนี้จะเริ่มทำใน session ๓ เป็นต้นไป และพยายามให้ฝึกวันละหลายๆครั้ง โดยในช่วงเริ่มต้นจะกำหนดตารางเวลาที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงหลังจะให้ฝึกทุกครั้งที่รู้สึกเครียดหรือไม่สบายใจ ในขณะที่ฝึกหายใจผู้ฝึกอาจจะรู้สึกผ่อนคลายแต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือการรู้กระบวนการคิดที่ดำเนินไปอย่างอัตโนมัติกับการหยุดแบบมีสติ และมีทางเลือก (การฝึกลมหายใจ ถ้าไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียวโดยไม่สังเกตประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจะผ่อนคลายและเข้าสู่กระบวนการสมาธิที่ไม่เกิดปัญญาทางสติ - อธิบายตามการฝึกสติที่ได้จากการปฏิบัติมา)
- การดึงเอาประสบการณ์ที่ไม่ชอบหรือไม่พอใจขึ้นมา ให้สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของร่างกายและจิตใจ โดยไม่พยายามหลบหนีหรือขัดขวาง ยอมรับด้วยความเมตตา กรุณา (willingness , openness and a gentle , kindly , friendly awareness ) การฝึกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฝึกไม่ต้องพยายามหลบเลี่ยงจากความรู้สึกที่ไม่ดี (avoidance) ผู้ฝึกมักจะพบว่าตนเองนั้นจะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับประสบการณ์ทางลบด้วยความก้าวร้าว แทนความอ่อนโยน การฝึกนี้จะทำด้วยความลำบากซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากครูผู้ฝึกสอน
- การทำ cognitive therapy ในการฝึกนี้ไม่ใช่การบำบัดในรูปแบบ cognitive therapy แบบดั่งเดิมที่พยายามไปเปลี่ยนประบวนการคิด (การค้นหาความคิดที่ไม่ถูกต้อง การหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความคิดนั้น หรือการพัฒนาความคิดที่มีเหตุผล) แต่เป็นการทำเพื่อให้เกิดกระบวนการ decentered ของประสบการณ์ภายใน เช่น
- ก. การฝึกความคิดและอารมณ์ จะเริ่มใน session ๒ จะให้ผู้ฝึกหลับตาและจินตนาการเหตุการณ์ว่าเดินอยู่และพบเพื่อนเดินผ่านมา ตนเองยิ้ม โบกมือ และส่งเสียงเรียก เพื่อนเดินผ่านไปเหมือนไม่เห็น แล้วให้อธิบายความคิด ความรู้สึก แลอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยใช้รูปแบบของ ABC โดย A คือสถานการณ์ B คือ ความคิด และ C คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกได้เรียนรู้เรื่องของ ความคิดไม่จำเป็นต้องเป็นความจริง (thoughts are not fact) และเรามักจะไม่ค่อยรู้ว่ามี B แม้ว่าจะรู้ว่ามี B แต่มักไม่สามารถหยุดกระบวนการนั้นได้ทัน การฝึกสติจะทำให้กระบวนการเหล่านี้ชัดเจนยิ่งขี้น
- ข. การอภิปรายในเรื่องการคิดอย่างอัตโนมัติ (automatic thought ) จะเริ่มใน session ๔ โดยจะอภิปรายในประเด็นความคิดที่สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้า ตัวอย่างเช่น ฉันเป็นคนไม่ดี ชีวิตฉันแย่ โดยให้ยอมรับว่าความคิดเหล่านี้เป็นอาการของโรคซึมเศร้าแต่ไม่ใช่ตัวตนของเขา การเชื่อความคิดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงจังหวะของโรคไม่คงอยู่ตลอดไป
- ค. การฝึก อารมณ์ ความคิดและมุมมองอื่น จะทำใน session ๖ โดยจะสมมุติสถานการณ์ว่าเพิ่มทะเลาะกับเพื่อนที่ทำงานมา ขณะเดินกลับบ้านพบเพื่อนคนที่ ๒ เดินผ่านมาเมื่อทักเพื่อนบอกว่ารีบไม่มีเวลาคุย ขียนความคิดที่เกิดขึ้น ให้สมมุติสถานการณ์ใหม่ว่าเพิ่งได้รับการยกย่องจากที่ทำงานว่าทำงานได้ดี และมาพบเพื่อนที่รีบไม่มีเวลาคุยด้วย เขียนความคิดที่เกิดขึ้น นำมาเปรียบเทียบกับความคิดที่หนึ่ง ซึ่งมักจะพบว่าความคิดที่ ๑ คิดว่าเพื่อนอยากจะหลีกเลี่ยงเรา ส่วนความคิดที่สองจะเชื่อว่าเขารีบจริงและอาจจะเป็นห่วงเขาด้วย จากการฝึกจะทำให้พบว่าความคิดมีผลกับความรู้สึก และความรู้สึกจะมีผลกับความคิด ดังนั้นความคิดจึงไม่จำเป็นต้องเป็นความจริง แต่เรามักจะเชื่อว่าความคิดคือความจริง
- ง. กิจกรรมที่มีความสุขและกิจกรรมที่เรามั่นใจว่าทำได้ การฝึกนี้จะทำใน session ๗ โดยมีแนวคิดว่ากิจกรรมบางอย่างสามารถที่จะป้องกันอาการซึมเศร้าได้ โดยมีกิจกรรม ๒ กลุ่มคือ ๑. กิจกรรมที่เราชอบและมีความสุข เช่น การได้คุยกับเพื่อนสนิท การได้ดูภาพยนตร์ ๒. กิจกรรมที่เรามั่นใจ เช่นการการทำกับข้าว การปลูกต้นไม้ การซื้อของ โดยจะให้ทำรายชื่อกิจกรรมเหล่านี้ไว้ และให้ทำกิจกรรมเหล่านี้เมื่อพบว่ามีอารมณ์แย่
- จ. การวางแผนป้องกันการเกิดซ้ำ จะทำใน ๒ session สุดท้าย โดยจะนำเอาทักษะทั้งหมดที่ฝึกได้มาใช้ โดยจะเริ่มจากการให้ทำรายการอะไรสิ่งบอกเหตุ(relapse signature )ว่าจะเกิดอาการซึมเศร้า ขึ้นมา ที่พบบ่อยเช่น หงุดหงิด แรงจูงใจหมด แยกตัว เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และให้คิดว่าจะจัดการกับอาการเหล่านี้อย่างไรบ้าง เช่น การฝึการหายใจ การพยายามเข้ากลุ่มเพื่อมาฝึกสติใหม่ การเลือกกิจกรรมที่เคยทำรายการไว้
ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติไว้มากเท่ากับ MBSR แต่ควรต้องผ่านการฝึกการให้คำปรึกษา หรือการทำจิตบำบัด และเคยเป็นผู้ทำกิจกรรมกลุ่มมาก่อน นอกจากนี้ควรจะทำการฝึกสติอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น