วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Mindfuness-base stress reduction ( MBSR )

เรียบเรียงจากหนัีงสือ ?????????????????????????

พัฒนาโดย Jon Kabat-Zinn, ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Medical Center ในปีค.ศ.1979 เพื่อใช้ช่วยเหลือผู้ป่วย ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้บำบัดผู้ป่วยประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน มีศูนย์บำบัดมากกว่า ๒๐๐ แห่งทั่วโลก ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา การปวดเรื้อรัง มะเร็ง เอดส์ และอื่นๆ โดยใช้เวลาบำบัด ๘ สัปดาห์ พบกัน ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา ๒.๕ ถึง ๓ ชั่งโมง และในช่วงสัปดาห์ที่ ๖ จะมีกิจกรรมเต็มวันหนึ่งครั้ง โดยจะบำบัดเป็นกลุ่มประมาณกลุ่มละ ๓๐ คนโดยจะเป็นบุคคลที่มีปัญหาต่างๆกัน แต่ในบางที่อาจจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเช่นกลุ่มที่เป็นโรคมะเร็ง
ในการบำบัดแนวทางนี้จะมีการบ้านที่ต้องไปฝึกต่อ โดยฝึกตามที่กำหนด ๔๕ นาทีต่อวันในช่วง ๖ วันที่ไม่ได้มาร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องความเครียดในเชิงการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด การรับรู้ต่อสิ่งเร้าและการที่เราสามารถที่จะเลือกตอบสนอง ซึ่งการให้ความรู้เหล่านี้จะสอดแทรกในกิจกรรมของกลุ่มที่พบกันใน ๘ session นั้นจะมีกิจกรรมหลักคือ
  1. การฝึกสติโดยใช้การพิจารณาลูกเกด ซึ่งจะเป็นกิจกรรมใน session ที่หนึ่งโดยให้พิจารณาเริ่มจากรูปร่าง สี ลักษณะโครงสร้าง การสัมผัส กลิ่น หลังจากพิจารณาแล้วขั้นที่ สองจึงจะใส่เข้าปาก และสังเกตความรู้สึกที่เกิด ทั้งการรับรู้รูปร่างและรส หลังจากพิจารณาแล้วจึงจะกัดและรับรู้รส ในการฝึกนี้ทำให้ผู้ฝึกได้รับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช้กระบวนการคิดแบบอัตโนมัติ แต่เป็นการทำให้กระบวนการต่างๆช้าลงจนสัมผัสความคิดได้ เป็นประสบการณ์ใหม่ที่บางคนอาจไม่เคยพบมาก่อน ในระหว่างที่สังเกตถ้ามีความคิด อารมณ์ ความรู้สึกไปเรื่องอื่น ให้รับรู้และนำความสนใจกลับมาที่การฝึก เมื่อจบ session ที่ ๑ แล้วจะให้สมาชิกกลับไปฝึกการรับประทานอาหารอย่างมีสติในอีก ๖ วันที่เหลือ การฝึกเช่นนี้จนชำนาญจะทำให้เกิดความตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เรามีโอกาสเลือกที่จะทำ ที่จะคิด ไม่เป็นไปอย่างอัตโนมัติเหมือนที่ผ่านมา
  2. การฝึก body scan ให้นั่งหรือนอนกับพื้นในท่าที่สบาย และให้สังเกตร่างกายทีละส่วน โดยไม่พยามยามไปเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอยู่ อาจจะเริ่มจากหัวแม่เท้าไปจบที่ศีรษะ การฝึกนี้จะสังเกตว่าไม่เหมือนการฝึก progressive muscle relaxation โดยผู้ฝึกจะเป็นผู้สังเกตไม่ใช่ผู้ที่ลงไปเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้นทางร่างกาย(? กายยา) การฝึกเช่นนี้จะทำใน session ที่ ๑ ๒ และ ๘ โดยจะต้องฝึกเองที่บ้านในช่วง ๔ อาทิตย์แรก ซึ่งจะมีเทปพูดนำให้ฝึกตาม
  3. ในระหว่างฝึกให้เช่นเดียวกับการฝึกลูกเกด ถ้ามีความคิด ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นก็ให้สังเกตและรับรู้ นอกจากนี้จะพบอุปสรรคการง่วงนอน หรือรำคาญ ก็ให้สังเกตเอาไว้ การเกิดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บอกว่าทำไม่สำเร็จ หรือเป็นสิ่งไม่ดี แต่เป็นสิ่งที่จะได้รู้
  4. การนั่งสมาธิ โดยนั่งในท่าที่สบาย (ไม่จำเป็นต้องนั่งท่าสมาธิ) และให้สังเกตลมหายใจที่เข้าออก จะพบปรากฎการณ์เหมือนในการฝึกลูกเกดและ body scan ก็ให้เป็นผู้สังเกตเช่นเดิม แต่ในช่วงนี้การนั่งสมาธิจะเพิ่มกิจกรรมให้สังเกตความเมื่อยล้าที่เกิด ความคิดที่เป็นจากความเมื่อยล้า และให้สังเกตสิ่งแวดล้อมเช่น เสียง โดยสังเกตรายละเอียด ความดัง ความถี่ คุณภาพเสียงอื่นๆ โดยไม่ตัดสิน หรือวิเคราะห์ แล้วนำความสนใจกลับมาที่ลมหายใจ การนั่งสมาธิจะใช้ใน session ที่ ๒ ถึง ๗ โดยเพิ่มเวลาจาก ๑๐ จนเป็น ๔๕ นาที และมีการกำหนดเป็นการบ้านเกือบทุกสัปดาห์ ซึ่งจะมีเทปเปิดนำให้ปฎิบัติตาม
  5. การฝึกโยคะ (Hatha Yoga) โดยเป็นการฝึกเพื่อรับรู้ร่างกายส่วนต่างๆ และระหว่างการเคลื่อนไหว โดยเน้นให้เกิดการฝึกสติ ไม่ใช่การฝึกออกกำลังกาย เป็นโอกาสที่ทำให้เราได้รู้จักร่างกายว่าเป็นอย่างไร มีข้อจำกัดอย่างไร ในผู้ที่ฝึกโยคะบางคนได้เกิดการรับรู้ร่างกายว่ามีอยู่ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยสังเกต หลายคนจะชอบมากกว่าการทำ body scan หรือ การนั่งสมาธิ โดยจะทำโยคะใน session ที่ ๓ และจะให้ทำเป็นการบ้านในสัปดาห์ที่ ๓ ถึง ๖ โดยมีเทปเปิดนำให้ปฎิบัติตาม
  6. การเดินจงกรม โดยจะพยายามให้มีการนำไปปฎิบัติในชีวิตประจำวัน
  7. การมีสติอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน การฝึกในกิจกรรมอื่นจะทำให้การฝึกการมีสติเสมอทำได้ดีขึ้น และทำให้เกิดการตระหนักรู้ (self-awareness) ในอารมณ์ ความคิดที่เกิดขึ้น ทำให้สามารถที่จะเลือกตัดใจได้ดีขึ้น โดยการฝึกนี้จะเริ่มในสัปดาห์ที่ ๒ ให้สังเกตช่วงที่มีความสุข ๑ ครั้งต่อวันโดยจะบันทึกรายละเอียดเรื่องความคิดอารมณ์ และความรู้สึก ในสัปดาห์ที่ ๓ จะเริ่มฝึกความรู้สึกที่ไม่มีความสุข นอกจากนี้จะให้มีการฝึกสังเกตลมหายใจเมื่อมีโอกาส
  8. การสนทนาเรื่องการปฎิบัติ (การสอบอารมณ์) จะทำทุกอาทิตย์เพื่อดูประสบการณ์ที่ได้รับ ปัญหาอุปสรรค์ ซึ่งผู้นำกลุ่มจะได้อธิบายให้ทราบถึงธรรมชาติของสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะเป็นปัญหาเรื่องความคิด อารมณ์ต่างๆที่มารบกวน ซึ่งผู้นำกลุ่มจะให้ผู้ฝึกดำรงการเป็นผู้สังเกตต่อไป อย่าพยายามไปเปลี่ยนสิ่งที่เกิดขึ้น ให้สนใจการปฎิบัติต่อไป บรรยากาสในการสนทนานั้นจะต้องเป็นการก่อให้เกิดการยอมรับและทำให้เกิดความต้องการค้นหาต่อไป
  9. การฝึกตลอดวัน จะทำในสัปดาห์ที่ ๖ จะเป็นการฝึกนั่งสมาธิ เดินจงกรม การทำ body scan การทำโยคะสลับกันไปทั้งวัน โดยจะพยายามไม่ให้มีการพูดเกิดขึ้น เมื่อสิ้นวันจะมีการพูกคุยประสบการณ์ที่ได้รับ
  10. การใช้โคลงกลอน จะมีการอ่านโคลงกลอนในแต่ละ session ซึ่งจะเป็นโคลงกลอนที่สัมพันธ์กับการฝึกสติ ในบางครั้อาจจะเปลี่ยนเป็นนิทานที่ทำให้ได้คิดถึงเรื่องสติ
  11. การบ้าน จะมีสองส่วนคือการฝึกสมาธิ ๔๕ นาที และการมีสติในชีวิตประจำวัน(informal mindfulness )อีก ๑๕ นาที
คุณสมบัติของครูที่สามารถนำกลุ่ม MBSR

  1. อย่างน้อยปริญญาโททางด้านสุขภาพจิต
  2. ฝึกสมาธิทุกวัน โดยถือเป็นวิถีการดำรงค์ชีวิต
  3. เข้าโปรแกรมการฝึกสมาธิ ๕ ถึง ๑๐ วันในแบบของนิกายเถรวาท(Theravadan) หรือ นิกายเซน อย่างน้อย ๒ ครั้ง
  4. มีประสบการณ์ในการฝึกโยคะอย่างน้อย ๓ ปี หรือการฝึก body-center disciplines
  5. มีประสบการณ์ ๒ ปีในการฝึกการจัดการความเครียด และโยคะหรือ body-center disciplines
  6. ผ่านการฝึก Professional program สำหรับ MBSR
  7. นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการแปลงประสบการณ์ที่มีเป็นการสอนได้ และมีทัศนคติที่ดีต่อการช่วยผู้อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น