วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

EMDR 8 Phases

(คำแปลภาษาไทยอาจไม่ถูกต้องต้องขออภัยด้วยครับ บทความนี้ไม่แน่ใจว่าอ่านหรือแปลงมาจากที่ใด เนื่องจากเรียบเรียงช่วงเรียนได้ข้อมูลมามากไปได้บันทึกว่าได้มาจากที่ใด )

Phase ของการบำบัดในแต่ละครั้ง
  1. ประวัติ client และการวางแผนการรักษา
  2. การเตรียมการ (Preparation)
  3. การประเมิน (Assessment)
  4. การทำให้หมดไป ( Desensitization )
  5. การติดตั้ง (Installation)
  6. การตรวจสอบร่างกาย (Body Scan)
  7. การปิด (Closure)
  8. การประเมินอีกครั้ง ( Reevaluation )

1.ประวัติ client และการวางแผนการรักษา
  • ประเมินว่า client สามารถ cope ความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะที่จะดึง traumatic event ที่อยู่ในความจำที่ยังไม่ประมวลผลออกมา โดยดู personal stability ความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และสุขภาพโดยทั่วไป
  • การสัมภาษณ์ทางสุขภาพจิตโดยเน้น ลักษณะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาการ และลักษณะของบุคลิกภาพ.
  • การค้นหาเป้าหมายของ EMDR ที่จะนำไปใช้บำบัด ประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ ตัวกระตุ้นปัจจุบันที่ทำให้เกิดการตอบสนองที่เป็นปัญหา รวมทั้งพฤติกรรมทางบวกและทัศนคติที่สามารถนำมาใช้ช่วย client ในอนาคต
2. การเตรียมการ (Preparation)
  • สร้างความสัมพันธภาพเพื่อนำไปสู่การรักษาที่ดี
  • อธิบายทฤษฎีของ EMDR , กระบวนการและผลของการบำบัด (ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง)
  • ชี้แจงในสิ่งที่ client กังวล
  • สอนทักษะการผ่อนคลายและ safety procedures
3. การประเมิน (Assessment)
  • เลือกเป้าหมายปัจจุบันที่ต้องการและตรวจสอบการตอบสนองที่เกิดขึ้นก่อนการบำบัด
  • กำหนดความจำเป้าหมายของ client ที่ต้องการ กำหนด visual image ที่แสดงถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถกำหนดภาพที่ต้องการได้ให้ใช้คำพูดที่สามารถเป็นตัวแทนเหตุการณ์นั้นได้
  • ให้ client ประเมินความคิดทางลบ ( negative cognition - NC) ที่สัมพันธ์กับ image และสามารถเป็นตัวแทนความคิดที่ client ที่มีต่อตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น [ ตัวอย่างเช่น ผมแย่ที่ไม่สามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ e.g., “I am ____ (worthless, unlovable, dirty, bad, etc.).”].
  • client เลือกความคิดทางบวกที่ต้องการ ( positive cognition - PC) ที่จะนำไปแทนที่ความคิดทางลบ [ เช่น ผมทำดีที่สุดแล้ว e.g., “I am ____ (worthwhile, lovable, etc.).] และประเมินความคิดนั้นกับ VOC scale.(Valid of Cognition ความรู้สึกว่าความคิดนั้นจริง )
  • ให้ client รักษาภาพและความคิดทางลบนั้นอยู่ในจิตสำนึก อธิบายอารมณ์ที่เกิดขึ้นและประเมินอารมณ์ที่รบกวนนั้นในรูปของ SUD scale.(Subjective Unit of Disturbance )
  • ให้ client มุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อเราเริ่มดึงเราเหตุการณ์ขึ้นมาสู่จิตสำนึก และอธิบายอาการที่เกิดขึ้น
4. การทำให้หมดไป ( Desensitization )
  • ให้ client รักษาภาพและความคิดทางลบนั้นอยู่ในจิตสำนึก รวมทั้งความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้น เริ่มให้ client กรอกตาตามแนวทางที่กำหนด ( sets of eye movements EMs) เพื่อให้เกิดการหมดไปเองของ ภาพ ความคิดและอาการทางร่างกาย (achieve desensitization).
  • ให้ทำ Desensitization ไปจนกว่า SUDs จะมีค่าเท่ากับ 0 หรือ 1.
  • การกรอกตา(Eye Movement - EM) อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะลดความทุกข์ทรมานของ client ได้ อาจจำเป็นต้องใช้กระบวนการอื่นร่วมด้วย
5. การติดตั้ง (Installation)
  • ให้ตั้งสมาธิไปที่ความคิดทางบวก ( PC ) เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความภูมิใจในตนเอง (self-efficacy and self-esteem.)
  • ให้รักษาความคิดทางบวก(PC)นั้นไว้พร้อมกับภาพของเหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลทางใจที่ได้รับการบำบัด(desensitized trauma image) และให้กรอกตาไปจนกว่า VOC จะมีค่าถึง 7 ( ซึ่งเรามักจะพบว่าค่าของ VOC จะเปลี่ยนไปบ้างแล้วตั้งแต่การ desensitize).
  • การที่ค่า VOC ไม่สามารถเพิ่มได้ถึง 7 อาจไม่เป็นปัญหาถ้าสิ่งนั้นมีเหตุผลและมีความเหมาะสม ( เช่น ไม่เป็นเรื่องของพยาธิสภาพ) แต่ถ้าเป็นพยาธิสภาพจะต้องพยายามทำให้ถึงเป้าหมาย.
6. การตรวจสอบร่างกาย (Body Scan)
  • เมื่อได้มีการติดตั้งความคิดทางบวกแล้ว ให้ client รักษาความคิดทางบวก(PC)นั้นไว้พร้อมกับภาพของเหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลทางใจ และให้ใช้จิตใจสำรวจร่างกายทีละส่วนจากศีรษะไปถึงปลายเท้า ประเมินว่ามีความเครียดหรืออาการทางร่างกายใดที่ยังหลงเหลืออยู่
  • ความตึงเครียดและความรู้สึกทางร่างกายเป็นเป้าหมายในการรักษาช่วงนี้ การลดความรู้สึกทางร่างกายที่เกิดขึ้นจาก trauma ที่ได้รับการบำบัดโดยการนำข้อมูลดิบไปประมวล หรือ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจเผยให้เห็นมีข้อมูลดิบที่เกิดจากการบาดเจ็บทางจิตใจที่ต้องการบำบัดเพิ่มขึ้น
7. การปิด (Closure)
  • ไม่ว่าการประมวลข้อมูลที่ client ได้จากประสบการณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ แต่เมื่อจบแต่ละ session เป้าหมายคือการทำให้ผู้ป่วยกลับเข้าสู่ความสมดุลย์.
  • จะมีการให้ความรู้กับ client ว่ากระบวนการบำบัดยังคงดำเนินอยู่ ในช่วงระหว่างการรักษาแต่ละครั้ง client อาจจะพบอาการเกิดขึ้น เช่น มีความคิด ภาพ หรือ อารมณ์ของเหตุการณ์ trauma เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี (positive sign) โดยให้ client สังเกตอาการเหล่านั้นและมาบอกในครั้งถัดไป ซึ่งอาการเหล่านั้นอาจจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของการรักษาครั้งถัดไปของ EMDR การคอยบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นการสร้างกระบวนการคิดที่ทำให้ห่างจากปัญหา
  • เนื่องจากบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นอาจจะเชื่อมโยงกันผ่านเครือข่ายความจำ ดังนั้นการ reprocessing ของแต่ละเหตุการณ์อาจกระตุ้นให้มีการ reprocessing ของความจำที่เชื่อมโยงกันด้วย ทำให้อาการอื่นลดลงตามไปด้วย หรืออาจทำให้ความจำอื่นผลุดขึ้นมา เกิดเป็นอาการได้
  • การให้ความรู้เรื่องทักษะการจัดการกับอาการที่ไม่ต้องการและการให้ความรู้เรื่องกระบวนการบำบัดมีความสำคัญ เนื่องจาก client อาจเกิดอาการหลังการบำบัดแต่ละครั้ง ซึ่ง client จะไม่ได้มาพบเราจนกว่านัดครั้งถัดไป ดังนั้นในระหว่างนั้นเขาจะต้องไม่ตกใจว่าทำไม่บำบัดแล้วอาการบางอย่างกลับเกิดขึ้นมา และเขาสามารถจัดการกับอาการเหล่านั้นได้ด้วยเครื่องมือที่เราสอนไว้ (เช่น container , safe place)
8. การประเมินอีกครั้ง ( Reevaluation )
  • ในแต่ละครั้งที่ทำการบำบัด เป้าหมายเดิมที่เคยบำบัดแล้วจะได้รับการประเมินอีกครั้งว่าผลการบำบัดที่ทำไปแล้วยังได้ผลอยู่หรือไม่ แบบบันทึกที่ทำไว้จะได้รับการทบทวน ถ้าอาการใดกลับมีขึ้นมาอีกจะได้รับการบำบัดเพิ่ม
  • ในฐานะผู้บำบัด เราจะต้องดูและเรื่องอื่นที่ client ยังคงความกังวลที่หลงเหลือในจิตใจ ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือปัญหาในสิ่งแวดล้อมอื่น เช่นในกรณีได้รับค่าชดเชยแล้ว client อาจไม่ยอมหายป่วย หรือ client ได้รับการเสริมแรงที่มำให้ไม่หาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น