วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนะนำ Art Feeling


Art Feeling เป็นกระบวนการที่ใช้ศิลปะเป็นสื่อเพื่อให้สามารถเข้าใจถึงอารมณ์ตนเองได้ โดยไม่ต้องการการแปลความจากผู้อื่น มีความหมายที่เป็นเฉพาะของตนเองเท่านั้น บุคคลอื่นจะไม่สามารถเข้าใจไ้ด้ ถ้าผู้เป็นผู้สร้างผลงานนั้นไม่อธิบาย เพื่อลดการใช้กระบวนการคิดที่เป็นตัวขัดขวางการแสดงออกของอารมณ์ ศิลปะที่สร้างนั้นจะพยายามไม่ให้เป็นสิ่งรูปร่างที่ทางกายภาพที่บอกได้ว่าเป็นอะไร

Art Feeling เป็นกระบวนที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถเข้าใจอารมณ์ของเราเอง โดยในครั้งแรกผู้พัฒนาเป็น non professional ซึ่งมีปัญหากับการเป็น HIV ของตนเอง จึงได้นำศิลปะมาช่วยเพื่อลดภาวะทางอารมณ์ของตนเอง ซึ่งพบว่าทำให้เข้าใจอารมณ์ตนเองและสามารถผ่านความรู้สึกที่ไม่ดีมาได้ ต่อมาจึงได้นำมาใช้ในผู้ป่วยยาเสพติดที่มีปัญหาไม่สามรถเข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ ซึ่งพบว่าได้ผลอย่างมาก



ตัวอย่างการใช้ดินน้ำมันสร้างศิลปะเพื่อเข้่าใจอารมณ์

ในช่วงที่อจ. วชิราและผมได้ไปฝึกงานเรื่องขุมชนบำบัด (Therapeutic community -TC) ที่ DAYTOP นิวยอร์ค เราได้เข้าไปอยู่ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนบำบัด (โดยทุกคนคิดว่าเราเป็นคนไทยที่ติดยาและมารับการบำบัด) เราพบเพื่อนสมาชิกหลายคนที่มีปัญหาทางอารมณ์ เช่น การไม่สามารถควบคุมความโกรธตนเองได้ ทีความรู้สึกเกลียดสมาชิกอื่นที่เป็นเพศชาย (ที่มีลักษณะเหมือนพ่อ ซึ่งเรามารู้ภายหลังใน session ว่ามีปัญหาถูกทารุณกรรมทางเพศจากพ่อเลี้ยง ) หรือไม่รู้อารมณ์ตนเอง สมาชิกกลุ่มนี้จะได้รับการเข้ากิจกรรม art feeling ซึ่งมีประมาณ ๘ sessions และมี session สุดท้ายเป็นการปั้นดิน (Clay )พบว่าสมาชิกเหล่านี้สามารถเข้าได้ตนเองได้ดีขึ้น พฤติกรรมที่เป็นปัญหาลดลง


สิ่งที่ art feeling ช่วยให้ดีขึ้นอาจเนื่องจาก
  1. การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายเป็นอิสระที่เราสามารถแสดงออกผ่่านสี (สิ่งแวดล้อม)
  2. การได้ผ่อนคลายตัวศิลปะเอง โดยไม่ต้องกลัวถูกหรือผิด (เนื่องจากการระบายสีแบบไม่ต้องมีรูปแบบว่าจะสวยหรือไม่สวย) ขณะวาดอยู่กับอารมณืที่จะนำไปสู่ศิลปะีที่ออกมา (กระบวนการศิลปะ)
  3. การได้ถ่ายทอดอารมณ์ของเราออกมา ในช่วงการบรรยายภาพ (กระบวนการทางจิตวิทยา - ได้ ventilate เข้าใจอารมณ์ตนเอง เข้าใจกระบวนการคิด ใช้ projection self ออกไปที่รูปทำให้ไม่ต้องกลัวเสีย self image )

สิ่งที่น่าจะเป็นข้อเด่นของ art feeling คือ
  • การที่ผู้จัด session ไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาเฉพาะทาง แต่ให้เข้าใจธรรมชาติของกระบวนการทำ ซึ่งต่างจาก Art therapy ซึ่งจะต้องจบการศึกษาเฉพาะ เนื่องจากมีการบวนการตีความศิลปะด้วย (????)
  • ผู้จัดไม่ใช่ Therapist แต่เป็นผู้สร้างสภาวะแวดล้อมให้เกิดกระบวนการบำบัด
  • สามารถทำได้ง่าย มีข้อเด่นคือสามารถทำเป็นกลุ่มได้ ซึ่งการทำเป็นกลุ่มจะมีข้อเด่นเรื่องการเข้าใจอารมณ์ผู้ปื่นด้วย (แต่ต้องมี trust ในกลุ่ม)
  • เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างความสัมพันธ์กับ client ที่พบกันครั้งแรก ซึ่งเราจะพบปัญหา resistance มาก
  • สามารถเข้าใจ client ได้เร็วเนื่องจาก art feeling คล้าย play therapy ที่ใช้ในเด็ก client สามารถ project ตัวตนออกไปได้ ดังนั้นสามารถพูกเรื่องของตนเองโดยไม่เจ็บปวด ทำให้สามารถเข้าใจตนเองได้เร็ว (ในผู้ใหญ่ esp วัยรุ่นเราจะพบปัญหารการที่ไม่สามารถพูดออกมาได้ หรือ ไม่อยากจะพูด) ใน session ที่ดำเนินได้ดีเราจะพบว่า client อยากที่จะพูด และมักจะมีอารมณ์ที่คั่งค้างออกมาได้ง่าย โดยไม่กลัว (อยู่ที่สภาวะแวดล้อมและบรรบายกาศ)

การใช้ art feeling อาจใช้ในสถานการณ์ต่างๆดังนี้
  • กระบวนการช่วยเหลือทางอารมณ์
  • ในครั้งแรกๆของการให้คำปรึกษา
  • ในการละลายพฤติกรรมของกลุ่มที่ทำให้เกิดอารมณ์ร่วม (อยู่ที่การเลือก theme ของการทำ art feeling นั้นด้วย )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น