วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

IBM 4 -Tier E-Learning Model

E-Learning เป็นสิ่งที่เริ่มเข้ามาใกล้เราทุกวัน เราพบว่าความรู้ที่เราเรียนเมื่ออยู่มหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว เราอาจต้องคอยปรับปรุงความรู้ของเราอยู่ตลอดเวลา เราอยู่ในสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตไปโดยไม่รู้ตัวไปแล้ว
สำหรับผมเมื่อมีคำถามผมจะคิอว่ามีใครแก้ปัญหานี้หรือสนใจเรื่องนี้หรือไม่ Internet เป็นแหล่งในการค้นหาข้อมูลที่สำคัญ ในช่วง ๓-๔ เดือนที่ผ่านมาผมพบต้องมารับผิดชอบบางส่วนกับ E-Learning ซึ่งเดิมผมคิดว่าไกลตัวมาก แต่เมื่อต้องมาศึกษาพบว่ามันมี impact กับหน่วยงานมาก เช่น ผมพบว่ามีแพทย์ใช้ทุน ๑ ท่านที่เรียนต่อเฉพาะทางเองไปยังอเมริกาโดยใช้ระบบ e-learning และไปบินเข้า class จริงตามกำหนด และอีกท่านหนึ่งได้ทุนจากหน่วยงานผมเพื่อเรียนต่อ ทางต่างประเทศกำหนดว่าในปีแรกไม่ต้องไปแต่ให้เรียนผ่าน e-learning และเมื่อผ่านปีที่ ๑ แล้วจึงค่อยไปเรียนจริงต่อที่ต่างประเทศ
ผมต้องเริ่มมาคิดการพัฒนาระบบ e-learning ให้กับหน่วยงาน ประเด็นคือผมจะหากรอบแนวคิดอะไรเพื่อนำมาใช้ ผมอ่านพบกรอบแนวคิด เรื่อง IBM 4 -Tier E-Learning Model และสามารถค้นเพิ่มได้จาก web site ของ IBM โดยจะแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น ๔ Tier ประกอบด้วย
  1. Tier ที่ 1 เป็น one-way learning
  2. Tier ที่ 2 เป็น interactive learning
  3. Tier ที่ 3 เป็น collaborative learning
  4. Tier ที่ 4 เป็น face to face learning
  • one-way learningจะเป็นการเรียนทางเดียว เช่น การเรียนจากเอกสารที่อ่าน จาก vdo จาก power point จาก mp3 จาก web page โดยเนื้อหาจะต้องไม่มากเกินไป ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่จะมีความรู้ที่อยู่ในรุปที่จะเป็น one-way learning อยู่มาก
  • interactive learning จะเป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับโปรแกรมที่เรียน เช่น การตอบคำถามแล้วถ้าตอบถูกหรือผิดจะมีคำอธิบายขึ้นมา หรือมีการให้รางวัล หรือการบังคับให้ผู้เรียนต้องมีปฎิสัมพันธ์โปรแกรมจึงจะทำต่อ เช่น CAI การพัฒนาจะต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงและต้องมีการออกแบบที่ดีพอควร จะพบการใช้ interactive learning ในองค์กรใหญ่ๆที่มีการลงทุน
  • collaborative learning เป็นการเรียนรู้โดยมีปฎิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่าย เช่นการ ใช้ web boarad , การใช้ chat ประเด็นสำคัญคือการสังคมโดยผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งอาจเป็นการเรียนแบบ Synchronous learning (มีปฎิสัีมพันธ์ทันทีเช่น chat ) หรือ ASynchronous learning(มีปฎิสัีมพันธ์เมื่อใดก็ เช่น web board , e-mail)
  • face to face learning จะเป็นการเรียนและพบกันในชั้นเรียน
แนวคิดนี้ทำให้เราสามารถเห็นการพัฒนาหลักสูตรที่ชัดเจนขึ้นเนื่องจากเราสามารถแบ่งโครงสร้างเนื้อหาได้ เช่น ถ้าสมมุติต้องการพัฒนาหลักสูตร ๑๒ สัปดาห์ เราสามารถ
  • face to face ในช่วงปฐมนิเทศเพื่อแนะนำหลักสูตรและในช่วงอาทิตย์สุดท้ายเพื่อเรียนรู้แบบกลุ่ม
  • one-way learning เป็นสื่อที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้เองแต่อาจต้องมีการกำหนดและตัดให้กระชับ ซึ่งต้องควบคู่ไปกับการมีกำหนดงานที่ต้องส่งผ่านระบบการเรียนแบบ collaborative learning โดยแบ่งแต่ละรายวิชาเป็นช่วงสั้นๆ และมีงานที่ส่งชัดเจนเป็นช่วงๆ
สิ่งที่เป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จในประเด็นของผู้เรียนคือ แรงจูงใจที่ชัดเจนที่ระบบต้องสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจทางลบ หรือแรงจูงใจทางบวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น