วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Acceptance and commitment therapy ( ACT )

เรียบเรียงจาก ???????????????????
ACT เป็นแนวทางที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับปัญหาหลายรูปแบบ กระบวนหลักประกอบด้วยการปรับพฤติกรรม การฝึกสติ และการยอมรับ (acceptance process) กระบวนการอื่นสามารถเสริมขึ้นมาตามลักษณะของ client เช่นอาจมี psycho-education , การฝึกทักษะ , การปัญหา การ exposure
แนวคิดหลักของ ACT คือ client จะพยายามหลีกเลี่ยงกับประสบการณ์ภายในเชิงลบ เช่น ความรู้สึก การรับรู้ การคิด ความอยาก โดยจะพยายามหลีกเลี่ยง หลบหรือกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไป แม้ว่าจะเป็นทางที่ทำให้เกิดผลเสียตามมา ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่พบเห็นได้ เช่น การใช้ยาเสพติด การหลักเลี่ยงสังคม ความอ้วน การเกิด dissociation และยังพบว่าการที่เราพยายามกดเก็บอารมณ์และความคิดกลับทำให้เราต้องประสบกับสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น
กระบวนการบำบัดคือการที่ให้เราได้ประสบการณ์เหล่านั้นในปัจจุบัน แบบเต็มใจ ยอมรับ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้การมีสติเข้ามา การฝึกสติใน ACT นั้นมีวิธีการที่หลากหลายมาก แต่กระบวนการสำคัญประกอบด้วย
๑. การยอมรับและการแยกตัวจากความคิด (Acceptance and Cognitive defusion)
การยอมรับ (acceptance )เป็นกระบวนที่ยอมรับความคิด อารมณ์ ความรู้สึก โดยไม่ตัดสิน เป็น จะไม่พยายามไปควบคุม ซึ่งพบว่าการพยายามควบคุมจะทำให้เกิดผลตรงข้าม(paradox effect) คือเกิดความคิดและอารมณ์นั้นมากขึ้น จะพยามให้รู้ในสิ่งที่เคยหลีกเลี่ยง เช่น ความวิตกกังวล มีเหงื่ออก ใจเต้นเร็ว
การแยกตัวออกจากความคิด ( Cognitive defusion ) เป็นการสอนสังเกตความคิดและกระบวนการคิดโดยไม้คิดว่าความคิดนั้นจริง หรือสำคัญ ซึ่งเมื่อมีการสังเกตแล้วจะทำให้ผลของความคิดต่อพฤติกรรมนั้นจะลอลง โดยจะพบว่าความคิดเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อหรือเป็นจริง กระบวนการนี้คล้ายกับ cognitive therapy แบบเดิมที่สังเกต ติดตาม และมองว่าความคิดเป็นสมมุติฐานที่ต้องการการทดสอบ แต่การแยกตัวออกจากความคิด นั้นจะไม่มีกระบวนการไป วิเคราะห์ พิสูจน์ หรือเปลี่ยนแปลงความคิดเหล่านั้น ใน ACT จะมีการฝึกมากมายเช่น การฝึกใบไม้ไหลตามน้ำ จะให้ผู้ฝึกหลับตาและจินตนาการว่าหยิบเอาความคิดที่เกิดนำมาใส่ในใบไม้วางบนแม่น้ำและปล่อยให้ไหลจนหายไปตาม หรือ กองทหารเดินพาเหรด โดยให้จินตนาการว่าความคิดคือป้ายที่ทหารเดินถือและค่อยๆจากไป วัตถุประสงค์ของ defusion ก็เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมแม้มีความคิดที่ไม่ต้องการ โดยปล่อยให้ความคิดที่ไม่ต้องการมาและจากไปเอง
๒. การอยู่กับปัจจุบันและ self as context
ACT จะใช้การฝึกสติในการให้สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และบรรยายสิ่งนั้นโดยปราศจากการตัดสินหรือประเมินแม้ว่าจะเป็นความรู้สึกที่ไม่ดี อุปสรรคที่สำคัญคือการหลีกเลี่ยงและการหลอมตัวเข้ากับความคิดนั้น (avoidance and cognitive fusion) ให้แยกตัวตนออกจาก ความคิด แรมณ์และความรู้สึก ตัวอย่างเช่น เมื่อมีความคิดว่า ”ฉันเป็นคนโง่” ให้สอนตนเองให้พูดว่า “ฉันคิดว่าฉันเป็นคนโง่” การเพิ่มคำว่า“ฉันคิดว่า” จะเกิดการแยกระหว่างตัวตนกับความคิดออกจากกัน และพบว่าตนเองสามารถมีความคิดหรืออารมณ์หลากหลายโดยไม่เป็นอันตราย ในบางครั้งจะให้ฝึกจินตนาการเป็นเหมือนมีผู้สังเกตการณ์อีกคนหนึ่งที่คอยมอง ประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น (รูป นาม) หลายคนจะพบประสบการณ์ว่า ตัวตนที่เป็นผู้สังเกตนั้นดำรงอยู่และประสบการณ์ต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป (เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป – ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนันตา) ซึ่งในกรณีนี้อาจเรียกว่ามี
๓. คุณค่าและการกระทำไปตามความตั้งใจ(Values and committed Action)
ACT ต่างจากแนวทางอื่นโดยให้ความสำคัญกับเรื่อง คุณค่าและเป้าหมายของชีวิต ซึ่งสะท้อนไปสู่พฤติกรรมที่ทำให้สามรรถเดินไปสู่เป้าหมายของชีวิต จะมีกิจกรรมที่พูดถึงเป้าและคุณค่าเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ ความสัมพันธ์ การพัฒนาคุณค่าชีวิต สุขภาพ เช่นอาจจะถามว่าเมื่อตายอยากให้คนพูดถึงเขาว่าอย่างไร ซึ่งเป้าเหล่านั้นทำให้เราสามารถนำไปสู่การกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการนำไปสู่เป้าเหล่านั้น และพิจารณาอุปสรราคที่มีอยู่และวิธีการจัดการอุปสรรคเหล่านั้น ซึ่งพบว่ามักจะเป็นประเด็นเรื่องจิตใจ เช่น ความวิตกกัวงล ความเศร้า ความไม่เชื่อมั่นตนเอง ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มี chronic pain และกลัวความเจ็บป่วยมากจนตัดขาดจากสังคม ไม่ยอมดูแลลูก เมื่อพูดถึงเป้าหมายในชีวิต อยากให้ลูกพูดถึงตนเองในแง่เป็นแม่ที่ดี อยากเรียนให้จบตามที่หวัง เมื่อพิจารณาพฤติกรรมที่ต้องการคือการลุกจากเตียงออกมาต่อทำกิจกรรมประจำวัน การพบปะผู้คน การพยายามออกมาเรียน สิ่งที่เป็นอุปสรรคคือความกลัวที่จะปวด เมื่อได้จัดความกลัวที่ไม่สมเหตุผลแล้ว ในท้ายที่สุด เธอก็สามารถออกมาดูแลลูกได้ ออกมาเรียนหนังสือต่อได้ โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยวัด physical scale pain เท่าเดิม แต่ psychological และ social pain ลดลง คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น