วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนวคิดการบำบัดของ EMDR

เรียบเรียงจากหนังสือ EMDR Scripted Protocol

แกนหลักของแนวคิดการบำบัดของ EMDR คือ Adaptive Information processing Model ( AIP ) โดย AIP เชื่อว่าบุคคลมีศักยภาพตั้งแต่กำเนิดที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การมีสุขภาพที่ดีและสมบูรณ์ (health and wholeness ) บุคคลเมื่อมีประสบการณ์ใหม่เกิดขึ้นจะทำการประมวลผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น แยกเป็นองค์ประกอบต่างๆ เช่นภาพเสียงความรู้สึกสัมผัส (Sensory modality ต่างๆ ) ความคิด อารมณ์ การสัมพันธ์กับเวลา โดยองค์ประกอบเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บในสมองส่วนต่างๆอย่างถูกต้อง บุคคลจะสามารถเห็นความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของอารมณ์และความคิด และสามารถเป็นที่ควบคุมการใช้ความจำเหล่านี้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม (adaptive learning) ซึ่งทำให้ความจำใหม่และความทรงจำเก่านั้นเกิดการเชื่อมโยง บุคคลจะมีการความเข้าใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอย่างเหมาะสม

แต่เมื่อใดก็ตามบุคคลไม่สามารถประมวลผลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (โดยไม่นับการที่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือการขาดข้อมูลข่าวสาร) เช่น การประสบเหตุภัยพิบัติอย่างรุนแรง ในขณะนั้นบุคคลจะใช้ศักยภาพทั้งหมดเพื่อการมีชีวิตรอด (ศักยภาพทั้งมวลนั้นหมายถึงศักยภาพทางจิตใจด้วย ) ประสบการณ์ใหม่ที่เกิดขี้น จะถูกเก็บไว้ในเครือข่ายความทรงทั้งก้อนในลักษณะของข้อมูลดิบ โดยความจำใหม่นี้จะอยู่ในเครือข่ายที่ไม่เชื่อมโยงกับเครือข่ายการเรียนรู้ปกติ และบุคคลไม่สามารถควบคุมได้ดี (ในบุคคลบางคน ถ้าหลังจากประสบภัยแล้ว บุคคลนั้นสามารถกลับเข้าสู่สมดุลได้อีกครั้ง ความทรงจำนี้จะถูกนำกลับมาประมวลและนำเข้าสู่เครือข่ายความจำปกติ ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ขึ้น – adaptive learning) ดังนั้นเมือใดที่มีปัจจัยที่เหมาะสมมากระตุ้น จะทำให้ประสบการณ์ที่ถูกเก็บไว้นั้นโผล่ออกมาทั้งก้อน ซึ่งประสบการณ์นั้นจะออกมาในลักษณะของข้อมูลดิบที่ไม่ได้ประมวลผล ดังนั้น บุคคลจะเหมือนกลับไปที่เวลานั้นอีก (re-experience ) มีภาพ เสียง ความรู้สึกสัมผัสทางร่างกาย มีอารมณ์ตอบสนองอย่างรุนแรง โดยไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าความจำนั้นมีผลกระทบที่แรงพอก็จะเป็นอาการของ PTSD ถ้าไม่รุนแรงมากอาจจะเป็นเพียงความรู้สึกวิตกกังวลที่ไม่สมเหตุสมผลกับเหตุการณ์นั้น

เป้าหมายของ EMDR การบำบัดนั้นเพื่อนำความจำที่ถูกแช่แข็งมาประมวล ( unfreeze dysfunctionally stored memories) ให้ความจำนั้นสามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลข่าวสารอื่นๆในสมอง ซึ่งจะให้เราสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมต่อไป ดังนั้น EMDR สามารถใช้ได้กับโรคทางจิตเวชหลายอย่างที่สามารถอธิบายได้ด้วย model นี้ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเฉพาะ PTSD

ดัดแปลงจากเอกสาร Clifton R. Hudson, Ph.D.
เราสามารถสรุป Adaptive Information Processing Model ได้ดังนี้
  • มนุษย์มีความสามารถภายในที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดที่สามารถประมวลประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม (adaptive learning)
  • ความทรงจำในสมองนั้นจะเก็บในลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย โดยเชื่อโยงความจำใหม่และความทรงจำที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงอารมณ์ที่สัมพันธ์กับความคิดด้วย
  • เครือข่ายเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่าง ความคิด ภาพ อารมณ์และการรู้สัมผัส ( thoughts, images, emotions, and sensations).
  • ถ้าประสบการณ์ traumatic ไม่ได้รับการประมวลเนื่องจากถูกขัดขวาง (เช่นจากการมีข้อมูลข่าวสารท่วมท้นในขณะมีประสบการณ์ ) ความคิด ภาพ อารมณ์และการรู้สัมผัสจะยังคงอยู่ในรูปของข้อมูลดิบและเป็นสิ่งตั้งต้นของตอบสนองที่ไม่เหมาะสมหรือผิดปกติในเวลาต่อมาเมื่อบุคคลนั้นได้รับการกระตุ้น
  • สมมุติฐานของ EMDR คือ กระบวนการใน EMDR สามารถช่วยเหลือ client ได้โดยการประมวลผลความทรงจำที่ผิดปกติเหล่านี้ให้เข้ามาอยู่ในเครือข่ายข้อมูลปกติของสมอง
  • การประมวลผลความจำที่ถูกเก็บในรูปข้อมูลดิบ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลและมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ การตอบสนองจะมีความเหมาะสมขึ้น

การบำบัดนั้นจะมีการทำให้ผป. อยู่ในภาวะ stable เสียก่อน เมื่อพร้อมจึงจะทำการบำบัดโดยนัดเป็น session โดยแต่ละ session นั้นจะเลือก target เพียงหนึ่ง target มาทำการบำบัด (ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งเหตุการณ์อาจะทำให้เกิดหลาย target ได้ ) และโดยปกติหลังจบแต่ละ session จะต้องทำให้ target ที่เป็น negative นั้นหายไปและเกิด positive ขึ้นมาแทนที่ โดย client จะต้องเชื่อความคิดเชิงบวกใหม่นั้นจริงๆ (ตรวจสอบการเชื่อใหม่นั้นโดย VOC Scale – Valid Of Cognition scale ) และการรบกวนที่เกิดขึ้นจาก target นั้นจะต้องหายไป ซึ่งจะตรวจสอบโดย SUD scale.(Subjective Unit of Disturbance scale)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น